วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

พระพุทธศาสนา ม สองหนึ่ง

พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน
พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตออกประกาศพระพุทธศาสนา ถึงเก้าสาย สายที่สำคัญที่สุดคือสายที่ 8
พระโสรณเถระและพระอุตตรเถระได้เป็นหัวหน้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ

การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
– กลุ่มประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
– กลุ่มประเทศที่ประชากรบางส่วนนับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

พระพุทธศาสนาในพม่า 
มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือเจดีย์ชเวดากอง พระพุทธศาสนารุ่งเรื่องมากๆในสมัยพระเจ้าอนุรุทธหรือพระเจ้าอโนรธามังช่อ
พระเจ้ามินดงได้มีการทำสังคายนาพระไตรปิกฎ
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พระเจ้าฟ้างุ้มได้ให้ลาวนับถือพระพุทธศาสนาในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทำสร้างวัดพระธาตุหลวง เป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญในลาว
 พระพุทธศาสานาในประเทศกัมพูชา
พระเจ้าชัยวรมันที่ ทรงสร้างปราสาทบายนซึ่งมีอิทธิพลของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาในกัมพูชาเสื่อมมากๆในสมัยเขมรแดงซึ่งคอมมิวนิสต์ปกครอง วัดถูกทำลาย ถูกบังคับจับสึก ห้ามคนใส่บาตร แต่ปัจจุบันพวกเขมรแดงไม่มีแล้วนะ พวกนี้ละที่จับคนใส่แว่นฆ่าทิ้งไปจำนวนมาก
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน
คอมมิวนิสต์เข้ามายึดครองเวียดนาม พระพุทธศาสนาได้ถูกกีดกันอย่างเข้มงวด
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
อาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือบุโรพุธโธ
พระพุทธศาสนาในมาเลเซีย
ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานมานานหลายร้อยปี
ต่อมากษัตริย์มลายูหันไปนับถือศาสนาอิสลาม และทำลายศาสนสถาน พระพุทธรูป และเทวรูป บังคับให้หันมานับถือศาสนาอิสลาม
หลังจากมาเลเซียที่ได้เอกราชจากอังกฤษ พระพุทธศาสนาในมาเลเซียได้รับการฟื้นฟู    
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐสิงคโปร์
พระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้ามาสู่สิงคโปร์เป็นนิกายมหายาน
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
แนวทางสร้างความเข้าใจอันดีกับมิตรประเทศของพระเจ้าอโศกมหาราชในศิลาจารึพระองค์ สรุปได้ดังนี้
หลักสังคหวัตถุ 4 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจไว้ในความสามัคคี
หลักสาราณียธรรม 6 เป็นหลักคำสอนที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
– ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม
– ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติ

ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม
ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาชุมชนด้านวัตถุ พระสงฆ์ไม่ได้ลงมือปฏิบัติเอง แต่เป็นผู้ริเริ่มและให้คำปรึกษา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาก็มีส่วนช่วยในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้า เกิดความสงบสุขขึ้นในชุมชน เช่น อปริหานิยธรรม ๗ ดังนี้
– ประชุมกัน
– เข้าประชุม เลิกประชุม และช่วยกันทำกิจกรรม
– ไม่บัญญัติสิ่งที่ขัดต่อหลักการ
– เคารพนับถือและรับฟัง
– ไม่ข่มเหงรังแก
– เคารพปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ
– อารักขา และปกป้องพระสงฆ์ผู้ทรงศีล

  
การพัฒนาชุมชนด้านจิตใจ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสงฆ์ด้วยความศรัทธา ต้องพัฒนาคนในชุมชนมีคุณธรรมและจริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ช่วยกันสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชนหรือสังคมด้านจิตใจ เช่น
อารยวัฒิ ๕ หมายถึงข้อปฎิบัติที่นำไปสู่ความเป็นอารายะชนคือ ผู้เจริญ ดังนี้
– งอกงามด้วยศรัทธา มีความเชื่อที่มีเหตุผล
– งอกงามด้วยศีล มีความประพฤติดีงามกายวาจา
– งอกงามด้วยสุตะ ขยัน
– งอกงามด้วยปัญญา มีความรู้
– งอกงามด้วยจาคะ  เสียสละ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการจัดระเบียบสังคมไทย มี 2 วิธี ดังนี้
– การออกกฎหมาย เพื่อควบคุมความประพฤติในสังคม
– การให้การศึกษาอบรม เป็นการปลูกจิตสำนึกในสังคมให้รู้จักคุณและโทษ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทคนิคการสอนครูเเบงค์

https://vt.tiktok.com/ZS8nJWJkx/