วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ม 3 สรุปศาสนานะ

ในพุทธศตวรรษที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ภายหลังการทำสังคายนาครั้งที่ 3พระองค์ได้ส่งสมณทูต 9สาย ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังนานา      ประเทศ


ประเทศศรีลังกา
                •  พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่      ศรีลังกาจากอินเดีย
                •  สมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติสืบมาถึงปัจจุบัน
                •  พระพุทธศาสนาในศรีลังกามีความรุ่งเรืองและเสื่อมถอยโดยเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจการปกครอง มีช่วงหนึ่งที่      ศรีลังกาส่งทูตมาขอพระสงฆ์ไทยไปบวช   ให้กุลบุตรชาวศรีลังกา

ประเทศเนปาล
                •  ในอดีตเนปาลเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอินเดีย และเป็นสถานที่ตั้งของสวนลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า สถานที่สำคัญเช่นวิหารมายา
                •  ในยุคแรกพระพุทธศาสนา  เถรวาทรุ่งเรืองมาก ต่อมาเสื่อมถอยลง  ทำให้พระพุทธศาสนามหายาน นิกายตันตระซึ่งผสมกับความเชื่อพื้นเมืองเจริญขึ้นมาแทน
                •  ปัจจุบันพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้รับการฟื้นฟู โดยไทยเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาท


เขตปกครองตนเองทิเบต
                •  พระพุทธศาสนาในทิเบตเป็นมหายานแบบวัชรยาน
                •  พระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้าสู่ทิเบตในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ หลังจากนั้นกษัตริย์ทิเบตได้ทรงให้การอุปถัมภ์เป็นอย่างดี
                •  ก่อนจะรวมเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน พระพุทธศาสนาถูกแบ่งออกเป็น ๔ นิกาย โดยนิกายเคลุกปะเป็นที่นับถือแพร่หลายที่สุด พระสงฆ์ในนิกายนี้เรียกว่า ลามะ ส่วนผู้นำสูงสุดในการปกครอง เรียกว่า องค์ดาไลลามะ



ประเทศจีน
                •  จีนเริ่มยอมรับพระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ฮั่น
                •  พระพุทธศาสนาเจริญสูงสุดในสมัยราชวงศ์ถังเพราะได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิ จากนั้นก็เจริญสูงสุดในบางสมัยและเสื่อมสุดในบางช่วงเวลา พระถังซำจั๋ง หรือพระเสวียนจั้ง โดยสมัยราชวงศ์ถังได้เดินทางไปศึกษาพระธรรมที่อินเดีย และอัญเชิญพระไตรปิฎกกลับมาจีน และแปลเป็นภาษาจีน
                •  ในช่วงที่จีนปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ประธานพรรคคือ เหมา เจ๋อตง ซึ่งมีหลักคำสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนา คือ รัฐบาลได้ยึดวัดเป็นของราชการ ห้ามประกอบศาสนกิจต่าง ๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นการผิดกฎหมาย
ปัจจุบันได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานขึ้นมา มักนับถือพระพุทธศาสนาคู่กับนับถือลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า



ประเทศเกาหลี
                •  ช่วงแรกชาวเกาหลีนับถือศาสนาชามาน ต่อมาภายหลังจึงนับถือพระพุทธศาสนาโดยจีนและอินเดียนำมาเผยแผ่
                •  เมื่อราชวงศ์ลีหรือราชวงศ์โชซอนเข้ามามีอำนาจได้สนับสนุนให้ลัทธิขงจื๊อเป็นศาสนาประจำชาติ พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมโทรมลง
                •  เมื่อเกาหลีอยู่ใต้การปกครองของญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟู จนกระทั่งเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเทศ พระพุทธศาสนาจึงรุ่งเรืองเฉพาะในเกาหลีใต้
มหาวิทยาลัยดงกุกเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลีใต้



ประเทศญี่ปุ่น
                •  พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓  และเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ โดยเริ่มนับถือในหมู่ชนชั้นสูงก่อนแล้วค่อยแพร่หลายไปสู่ประชาชน
                •  ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๔ พระพุทธศาสนาแบ่งเป็น ๓ นิกายหลัก และเป็นที่นับถือกันมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ นิกายโจโดหรือสุขาวดี นิกายเซน และนิกาย นิชิเรน
                      นิกายเซน ให้ดำเนินชีวิตเรียบง่าย ให้เข้าถึงโพธิญาณ ต้นกำเนิดลัทธิบูชิโต นับถือพระโพธิธรรม


การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนา  ของประเทศในทวีปยุโรป
วัดพุทธปทีปวัดไทยแห่งแรกในยุโรปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดป้ายและพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพุทธปทีป” เป็นศูนย์วิปัสสนาและแหล่งท่องเที่ยวของชาวอังกฤษ
สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาทต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง   
งานเขียนของ เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ หนังสือ “ ประทีปแห่งเอเชีย   ควรจำมากๆเลยเพราะเล่มนี้มีอิทธิพลมากที่ทำให้คนยุโรปหันมาสนใจพระพุทธศาสนา
องค์การที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษ คือ องค์การคุลิมาล
หลักธรรมของพระพุทธศาสนามีความเป็นวิทยาศาสตร์ (หลักเหตุผล) ซึ่งเป็นสิ่งสากลที่สามารถสร้างศรัทธาให้กับชาวยุโรปได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั่นก็ยังมีการจัดตั้งพุทธสมาคมในประเทต่างๆ



การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนี
ดร.คาร์ล ไซเดนสตือเกอร์ เป็นผู้นำชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมนี ได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนีในพ.ศ. ๒๔๔๖
หนังสือพระพุทธวจนะ มีชื่อเสียงและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ถึง ๖ ชั่วอายุคน

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์
จุดเริ่มต้นของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ พ่อค้าชาวดัตช์และชาวพื้นเมืองจากศรีลังกาได้เดินทางไปศึกษาที่เนเธอร์แลนด์
พ.ศ. ๒๔๘๙ ชาวพุทธในกรุงเฮกได้ร่วมกันจัดตั้งชมรมชาวดัตช์ขึ้น
พ.ศ. ๑๕๐๗ มีการตั้งกลุ่มพุทธศาสตร์ศึกษาขึ้นที่กรุงเฮก
พ.ศ. ๒๕๑๒ สถานทูตไทยในเนเธอร์แลนด์ได้อนุเคราะห์ให้มีการจัดตั้งพุทธสมาคม

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา
จุดเริ่มต้นของการเผยแผ่เข้าสู่สหรัฐอเมริกา ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ มีการจัดพิมพ์หนังสือ มีเรื่องราวของพระพุทธศาสนารวมอยู่

วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ มีการวางศิลาฤกษ์สร้างวัดไทยลอสแอนเจลิส เป็นวัดแรก

การนับถือพระพุทธศาสนาในทวีปยุโรปมีแนวโน้มสูงขึ้นในหลายประเทศ เช่น สวิสเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก ฟินแลนด์ โปแลนด์ อิตาลี สวีเดน รัสเซีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทคนิคการสอนครูเเบงค์

https://vt.tiktok.com/ZS8nJWJkx/