รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) อยุธยาตอนต้น
ราชธานี-
กรุงศรีอยุธยา
• ระบอบการปกครอง
เทวราชา
- รับแนวคิดมาจากศาสนาพราหมณ์- ฮินดู (ผ่านทางเขมร)
- พัฒนามาจากระบอบปิตุลาธิปไตย เพราะต้องการความมั่นคงของอาณาจักรที่มี
ขนาดใหญ่กว่าเดิม
กษัตริย์เปรียดังสมมติเทพถือว่ากษัตริย์เป็นองค์อวตารของเทพ
เป็นเสมือนเจ้าชีวิตเพราะฉะนั้นกษัตริย์จะมีอำนาจมากๆ เนื่องจากอาณาจักรกว้างขวางขึ้น
และคนเยอะขึ้น ทําให้ความสัมพันธ์ของ
ประชาชนเป็นไปอย่างห่างเหิน ไม่ใกล้ชิด เพื่อความมั่นคงและการขยายอาณาจักร
เเต่เดียวก่อน ในสมัยนี้เเต่ถึงอย่างไรกษัตริย์จะมีอำนาจมากเเต่ มีธรรมราชาคือยึดหลักธรรมในการปกครอง
เช่น ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร 5 และ 12 ราชสังคหวัตถุ 4 ทรงเอาธรรมราชามาใช่ควบคู่กับเทวราชา
การปกครองส่วนกลาง
• จตุสดมภ์ แบ่งออกเป็น 4 กรม
เวียง
ขุนเวียง
- รักษาความสงบเรียบร้อยของพระนคร
- ปราบปรามโจรผู้ร้าย
- ลงโทษผู้กระทําความผิด
วัง
ขุนวัง - ดูแลกิจการของราชสํานัก
- พิจารณาตัดสินคดีความ
- สํานักพระราชวัง
- กระทรวงยุติธรรม
คลัง
ขุนคลัง
- ดูแลผลประโยชน์ของแผ่นดิน
- เก็บรักษาพระราชทรัพย์
- การค้า การต่างประเทศ และภาษีต่างๆ
นา
ขุนนา - การออกสิทธิ์ในการทําไร่ทํานา
- เก็บภาษีและผลผลิตเข้าสู่ศูนย์กลาง
1.3 การปกครองส่วนภูมิภาค
- แบ่งออกเป็น 4 ส่วน
• เมืองหน้าด่าน (เมืองลูกหลวง)
- ห่างจากราชธานี
2 วัน (เดินเท้า)
- ป้องกันราชธานี
4 ทิศ
- ผู้ปกครอง
คือ พระราชโอรส หรือเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง
ภาพหัวเมืองลูกหลวงสมัยอยุธยา
• หัวเมืองชั้นใน
- หัวเมืองสําคัญ
ไม่ไกลจากราชธานีมากนัก
- ติดต่อกันได้สะดวก
- ราชสํานักแต่งตั้งขุนนางไปปกครอง
ต้องปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด
• หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร)
- อยู่ไกลจากราชธานีพอสมควร
- ผู้ปกครอง
คือ เจ้าท้องถิ่น หรือขุนนาง
• หัวเมืองประเทศราช
- ผนวกได้จากการทําสงคราม
หรือการอ่อนน้อมรับในอํานาจของอยุธยา
- ผู้ปกครอง
คือ เจ้าเมืองเดิม และมีอิสระในการปกครองตนเองอย่างเต็มที่
- ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการถวายแก่กษัตริย์แห่งอยุธยา
- เมื่อเกิดสงครามต้องส่งกองทัพเข้าร่วมรบกับอยุธยา
การปกครองรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อยุธยาตอนกลาง
ราชธานี-
กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง
การปกครองส่วนกลาง
• จตุสดมภ์
เวียง (เมือง) ⇒ นครบาล
ขุนเวียง ⇒ เจ้าพระยายมราช
วัง ⇒ ธรรมาธิกรณ์
ขุนวัง ⇒ พระยาธรรมาธิบดี
คลัง ⇒ โกษาธิบดี
ขุนคลัง ⇒ พระยาโกษาธิบดี
นา ⇒ เกษตราธิการ
ขุนนา ⇒ พระยาพลเทพ
• การแบ่งการบริหารราชการออกเป็น 2 ส่วน มีการเเบ่งเเยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายพลเรือนเเละฝ่ายทหาร
- สมุหกลาโหม
(เจ้าพระยามหาเสนาบดี) - ควบคุมดูแลกิจการทหารทั่วราชอาณาจักร
กรมอาสา
กรมม้า
กรมช้าง
กรมช่างสิบหมู่
- สมุหนายก
(เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์) - ควบคุมดูแลราชการฝ่ายพลเรือน และจตุสดมภ์
พระมหากษัตริย์
นครบาล (เวียง)
ธรรมาธิกรณ์ (วัง)
โกษาบดี (คลัง)
เกษตราธิการ (นา)
ปัจจัยที่ทําให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูประบบการปกครองและบริหารราชการแผ่นดิน
- อาณาเขตของอยุธยากว้างขึ้น
ระบบเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น และไพร่พลมีจํานวนมากขึ้น
ทําให้จําเป็นต้องมีการขยายหน่วยงานมากขึ้นด้วย
- ปัญหาการแย่งชิงอํานาจ
- ราชวงศ์ที่ครองเมืองลูกหลวงมักสะสมกําลังเพื่อแย่งชิงอํานาจ
เช่น ในรัชสมัยพระราเมศวรครองราชย์ครั้งที่ 1 ขุนหลวงพ่องั่วยกทัพมาแย่งชิงพระราชบัลลังก์หรือภายหลัง
พระเจ้าอินทราชาเสด็จสวรรคต เจ้าอ้าย และเจ้ายี่
ทําสงครามแย่งชิงราชสมบัติสิ้นพระชนม์ทั้งคู่เจ้าสามพระยา
จึงได้ขึ้นครองราชย์
การปกครองส่วนภูมิภาค
• - ยกเลิกเมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง ”
• หัวเมืองชั้นใน
- มีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวามีคนปกครองคือผู้รั้ง
• หัวเมืองชั้นนอก
- อยู่ถัดเมืองชั้นในออกไป
แบ่งออกเป็นชั้นเอก โท ตรีตามขนาดและความสําคัญของเมือง
- ผู้ปกครอง
คือ ขุนนาง หรือ เจ้านายท้องถิ่น
หัวเมืองชั้นเอก - เมืองขนาดใหญ่
มีความสําคัญทางด้านยุทธศาสตร์ กษัตริย์จะแต่งตั้งราชวงศ์หรือขุนนางชั้นสูงไปปกครอง
หัวเมืองชั้นโท - ขนาดและความสําคัญรองลงมา
หัวเมืองชั้นตรี - เมืองเล็กๆ
• หัวเมืองประเทศราช
- มีอิสระในการปกครอง
โดยเจ้าท้องถิ่น
- ส่งเครื่องราชบรรณาการ
และกองทัพ เมื่อเกิดสงคราม
การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชา
ปัจจัยที่นําไปสู่การปรับปรุงการปกครอง
• สมุหกลาโหมมักก่อการยึดอํานาจกษัตริย์
เนื่องจากเป็นผู้ควบคุมดูแลฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร
ทําให้มีอิทธิพลและอํานาจ จึงมักสะสมกําลังและไพร่พล
• เวลาเกิดสงครามเกิดปัญหาในการควบคุมไพร่พล
เพราะมีการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างฝ่าย
ทหารและพลเรือน
การปกครองส่วนกลาง
- แบ่งเขตและหน้าที่การปกครองใหม่
ข้อควรจำนะตัวเธอ
สมุหนายกจะดูเเลหัวเมืองฝ่ายเหนือด้วย
สมุหกลาโหม จะดูเเลฝ่ายหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย
โกษาธิบดี จะดูเเลหัวเมืองหัวเมืองั่งตะวันออกด้วย ในภาพที่ครูให้ไปจะผิดเเค่จุดนี้
เสริมความรู้นะ รู้ไว้ใช่ว่า หน่วยงานในการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ
1. กรมท่าขวา (พระยาจุฬาราชมนตรี - แขก) ดูแลการค้ากับดินแดนทางตะวันตก เช่น
แขก อินเดีย เปอร์เซีย มัวร์อาหรับ
2. กรมท่าซ้าย (พระยาโชฎึกราชเศรษฐี- จีน) ดูแลการค้ากับดินแดนทางตะวันออก เช่น
จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น
3. กรมท่ากลาง (มีขึ้นทีหลัง) ดูแลชาวตะวันตก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น