กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
ความหมายของผู้เยาว์ คือ บุคคลที่มีอายุไม่ถึง20 ปีบริบูรณ์
ความสามารถของผู้เยาว์ ในกฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้
การสมรส ต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์
หรือศาลอนุญาตให้สมรสได้ การสมรสจะต้องจดทะเบียนตามกฎหมายแล้วเท่านั้น
การทำนิติกรรม ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การทำการใด ๆ กฎหมายจำกัดความสามารถของผู้เยาว์ไว้
ทำให้เกิดความไม่สะดวกและเสียเวลาในการไปขออนุญาตผู้แทน จึงกำหนดข้อยกเว้น 3 ประเภท
ดังนี้
– นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้มาซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือเพื่อหลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
– นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว
– นิติกรรมที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีพของผู้เยาว์
การทำพินัยกรรม ต้องมีอายุครบ
15 ปีบริบูรณ์
การประกอบธุรกิจการค้าและทำสัญญาเป็นลูกจ้าง
ผู้เยาว์สามารถทำธุรกิจได้ โดยธุรกิจนั้นอาจมาจากกิจการที่เป็นมรดกของครอบครัวตกทอดมา
กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือบัตรและทางราชการ
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัว กำหนดหลักเกณฑ์การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนไว้ดังนี้
– บุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดปีบริบูรณ์
และมีชื่อในทะเบียนบ้าน
– บุคคลต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยหรือได้กลับคืนสัญชาติไทย
– บุคคลที่ได้เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
– บุคคลที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น
กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
การหมั้น ในทางกฎหมาย คือ การที่ชายหญิงสัญญาว่าจะทำการสมรสและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
จะต้องมีของหมั้นและสินสอด การหมั้นมีเงื่อนไข 2 ประการ ดังนี้
– อายุของคู่หมั้น จะต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
– ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ถ้าอายุไม่ครบ
20 ปีบริบูรณ์หรือผู้เยาว์จะไม่สามารถทำการหมั้นด้วยตนเองได้ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองก่อน
การหมั้นจะมีความสมบูรณ์
จะต้องมีสิ่งประกอบ 2 ประการ ได้แก่
– ของหมั้น
– สินสอด
การสมรส
หลักเกณฑ์การสมรส มี
3 ประการ ได้แก่
การสมรสมีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ
ดังนี้
– คู่สมรสต้องเป็นชายและหญิง
– ต้องกระทำโดยสมัครใจ
– อยู่กินฉันสามีภริยา
– ต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว
เงื่อนไขการสมรส
มี 2 ส่วน ได้แก่
เงื่อนไขการสมรส
มี 3 ประการ ได้แก่
– ชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
– ชายและหญิงแสดงความยินยอมเป็นสามีภริยากันต่อหน้านายทะเบียนและมีการจดทะเบียนสมรส
เงื่อนไขที่เป็นข้อห้าม
มี 5 ประการ ได้แก่
– ชายหรือหญิงที่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
– ญาติสืบสายโลหิตจะสมรสกันไม่ได้
– ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
– สมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วไม่ได้
– หญิงที่เคยสมรสมาแล้วแต่สามีตาย
หรือการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดลงโดยสาเหตุอื่น
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา มีดังนี้
ความสัมพันธ์ด้านส่วนตัว สามีและภริยาต้องช่วยเหลือเลี้ยงดูกัน
ความสัมพันธ์ด้านทรัพย์สิน มี 2 ประเภท
คือ
– ทรัพย์สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ
คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีอำนาจมาเกี่ยวข้อง
– สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย
การรับรองบุตร
บุตร แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
บุตรชอบด้วยกฎหมาย
มี 2 ประเภท ได้แก่
– บุตรในสมรส
คือ เด็กที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย
– บุตรนอกสมรส
คือ เด็กที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
บุตรนอกกฎหมาย คือ
บุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันและไม่ได้ดำเนินการให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา
บุตรบุญธรรม คือ บุตรของคนอื่นแต่เข้ามาเป็นบุตรด้วยการจดทะเบียน
สำหรับหลักการรับบุตรบุญธรรมมีดังนี้
– ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า
25 ปี และต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
– ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า
15 ปี จะต้องให้ความยินยอมด้วย
– บุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องได้รับคำยินยอมจากบิดามารดาผู้นั้น
– ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
– การรับบุตรบุญธรรมมีผลเฉพาะตัวผู้จดทะเบียนเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น