วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ม 2 ด้านสังคมกับเศรษฐกิจ
เสริมจากด้านนนะ
เจ้านาย หมายถึง เชื้อพระวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ยศของเจ้านายมี 2 ประเภท คือ
(1) สกุลยศ ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด
(2) อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับจากพระมหากษัตริย์
ขุนนาง จะใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ ขุนนางแต่ละระดับจะพิจารณาจากยศหรือบรรดาศักดิ์ ราชทินนาม ตำแหน่ง และศักดินา ดังนี้
(1) ยศ แสดงถึงลำดับขั้นขุนนาง เช่น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน
(2) ราชทินนาม เป็นนามที่ได้พระราชทาน แสดงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบเช่น จักรีศรีองครักษ์
(3) ตำแหน่ง หน้าที่ในราชการเช่น สมุหนายก สมุหพระกลาโหม เสนาบดี เจ้ากรม เป็นต้น
(4) ศักดินา เครื่องกำหนดฐานะทางสังคมผู้ที่ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปจะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ และสามารถตั้งทนายว่าความให้ตนเองเมื่อเกิดคดีความ ได้รับยกเว้นการเสียภาษีที่นา ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุด และถือเป็นสมบัติของนายทาส มี 7 ประเภท
(1) ทาสสินไถ่ คือขายตัวเองเป็นทาส
(2) ทาสในเรือนเบี้ย ลูกทาส
(3) ทาสที่ได้จากบิดามารดา
(4) ทาสมีผู้ให้
(5) ทาสที่ช่วยเหลือจากทัณฑโทษ
(6) ทาสอันได้เลี้ยงไว้ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย
(7) ทาสเชลย
พระสงฆ์ ทุกชนชั้นต่างให้ความเคารพนับถือพระสงฆ์ และชนชั้นต่าง ๆ สามารถบวชได้ เมื่อบวชแล้วทุกคนจะมีฐานะเท่าเทียมกัน
การเลื่อนฐานะทางสังคม
การเลื่อนฐานะทางสังคมเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้คนแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเอง เพื่อนยกฐานะทางสังคมให้สูงขึ้น
เสริมศักดินานะ พระมหากษัตริย์ทรงไม่มีศักดินา พระมหาอุปราชมีศักดินา 100000
สมุหนายก สมุหกลาโหม โกษาธิบดี มีศักดินาเท่ากัน 10000
ทาสมีน้อยสุด 5 ไร่
เศรษฐกิจบ้าง
การค้าผูกขาดโดยพระคลังสินค้า ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าต้องห้าม ผูกขาดซื้อกับประชาชนเเละขายให้ต่างชาติ สินค้าต้องห้ามเช่น ของป่า ไม้กฤษณา งาช้าง อาวุธ กระสุนดินดำ ๆลๆ พระคลังสินค้านี่ทำรายได้ให้กับรัฐอย่างมหาศาลเลยนะ
เเต่ชาติตะวันตกไม่ชอบพระคลังสินค้าเอามากๆเพราะเขาบอกว่าพระคลังสินค้าเอาเปรียบพวกเขา
เงินตรา
1. พดด้วง ทำจากโลหะเงิน มีตราประทับหลายแบบ
2. เบี้ย นำเปลือกหอยทะเลมาใช้เป็นเงิน
3. ไพและกล่ำ ทำจากโลหะที่ไม่ใช่เงิน
4. ประกับ ทำจากดินเผาตีตราประทับ ใช้แทนเบี้ยที่ขาดแคลน
รายได้ของอาณาจักร
1. จังกอบ ค่าผ่านด่าน มี 2 แบบ ได้แก่ จังกอบสินค้า และจังกอบปากเรือ
2. อากร คือ ภาษีที่เก็บจากราษฎร มีดังนี้ อากรค่านา อากรสมพัตสร อากรศุลกากร อากรสวน อากรตลาด อากรค่าน้ำ อากรบ่อนเบี้ย อากรสุรา
อากรสมพัตสร เป็นภาษีที่เก็บจากผลไม้ล้มลุก เช่น กล้วย อ้อย เป็นต้น
อากรค่าน้ำ เก็บจากเครื่องมือจับสัตว์น้ำ
ในสมัยพระนารายณ์มหาราชได้เปลี่ยนจากเก็บผลผลิตเป็นเงินแทน
3. ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากราษฎรในกิจการที่ทางราชการจัดการให้เช่น การตัดสินคดีความ
4. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ส่งให้ราชสำนักเเทนการเกณฑ์เเรงงาน เช่น ส่วยแรงงาน บรรณาการ
รายจ่ายของอาณาจักร เรียกอีกอย่างว่า รายจ่ายราชทรัพย์ เพราะในสมัยอยุธยารายได้ของอาณาจักรถือว่าเป็นรายได้ของพระมหากษัตริย์ มี 4 ประเภท ได้แก่
1. รายจ่ายเป็นเบี้ยหวัด ให้กับเจ้านายและขุนนาง
2. รายจ่ายในการทหาร เพื่อบำรุงกิจการของกองทัพให้เข้มแข็ง
3. รายจ่ายในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
4. รายจ่ายอื่น ๆ เช่น รายจ่ายในพระราชพิธีต่าง ๆ รายจ่ายในการสงเคราะห์คนอนาถา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เทคนิคการสอนครูเเบงค์
https://vt.tiktok.com/ZS8nJWJkx/
-
เศรษฐศาสตร์ ตลาดในความหมายทั่วไป หมายถึง สถานที่ใด ๆ ที่สามารถซื้อขายสินค้าและบริการ ส่วนตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง กิจกรรมซื้อขายสินค้...
-
การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ การทำความเข้าใจว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลอะไ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น