วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ม 2 กฎหมายเเละการตรากฎหมาย

กฎหมาย
          ความหมายและความสำคัญของกฎหมาย คือ ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของประชาชน
          เจตนารมณ์สำคัญของระบอบประชาธิปไตย คือ
                    – ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ
                    – มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อส่วนรวม

          ประเภทของกฎหมาย แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
                    ประเภทที่แบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมายหรือเเบ่งตามบทาทของกฎหมาย
 เน้นให้เห็นว่ากฎหมายถูกนำไปใช้อย่างไร ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
                              – กฎหมายสารบัญญัติ คือ เนื้อความ ภาคทฤษฎี ได้เเก่ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์  ประมวลกฎหมายอาญา
                              – กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ   วิธีดำเนินคดี ภาคปฎิบัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความเเพร่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                    ประเภทที่แบ่งตามข้อความในบทบัญญัติของกฎหมาย หรือความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี มี 3 ประเภท คือ
                              – กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนของรัฐ หรือคนต่อรัฐ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา รัฐธรรมนูญ   ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายล้มละลาย กฎหมายที่ดิน
                              – กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนที่อยู่ในฐานะเท่าเทียมกันหรือคนต่อคน เช่น ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์
                              – กฎหมายระหว่างประเทศ คือ รัฐต่อรัฐ  เช่น  กฎหมายเเผนกคดีเมือง คดีบุคคล คดีอาญา
                    ประเภทที่แบ่งตามลักษณะการตรากฎหมาย มี 3 ประเภท คือ
                              – กฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ มี 2 ประเภท ได้แก่ พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมายอาญา
                              – กฎหมายของฝ่ายบริหาร มี 4 ประเภท ได้แก่ พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง
                              – กฎหมายท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่รัฐมอบอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดการใช้อำนาจอธิปไตย  กำหนดสิทธิเสรีภาพ หน้าที่ของประชาชน   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 เป็นฉบับปัจจุบัน วันประกาศ       6 เมษายน 2560  กฎหมายทั้งหมดจะขัดกับกฎหมายสูงสุดอย่างกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ 
กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
1.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ทำหน้าที่ขยายรายละเอียดที่อยู่ในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น  พรรคการเมือง  การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมการการเลือกตั้ง ๆลๆ
2. พระราชบัญญัติ (พรบ.)  เป็นกฎหมายที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่  แต่ถ้านำพระราชบัญญัติเรื่องเดียวกันมารวมเป็นหมวดหมู่จะได้  ประมวลกฎหมาย
กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร   (รัฐบาล) จะออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง
1.พระราชกำหนด  (พรก.)  เป็นกฎหมายที่ทำโดยเรียกประชุมสภาไม่ทัน  และเป็นเรื่องเร่งด่วน ฉุกเฉิน หรืออาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษี เงินตรา แต่เมื่อสภากลับมาแล้วต้องให้สภาดู ถ้าสภาเห็นชอบ (อนุมัติ) 
                         ก็จะเป็นพระราชกำหนดอย่างถาวรต่อไป (มีฐานะเทียบเท่า พรบ.) แต่ถ้าสภาไม่เห็นชอบ
ก็จะตกไป  พระราชกำหนดจึงถือว่าเป็นกฎหมายชั่วคราว
2.พระราชกฤษฎีกา (พรฏ.)  เป็นกฎหมายบริวารหรืออนุบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ช่วยขยายความรายละเอียดในพระราชบัญญัติ  (ซึ่งมีหน้าที่เหมือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ขยายรายละเอียดเหมือนกัน)  สามารถออกโดยไม่ต้องให้สภาเห็นชอบ
3.กฎกระทรวง   เป็นกฎหมายบริวารเหมือนพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีประจำกระทรวงนั้นเป็นคนออกต้องไม่เป็นเรื่องสำคัญ (ถ้าสำคัญต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา) 
กฎหมายที่ออกโดยองค์การปกครองท้องถิ่น  
เช่น  ข้อบัญญัติ กทม. ออกโดยสภากรุงเทพมหานคร  ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ออกโดยสภาเมืองพัทยา

ศักดิ์และอันดับขั้นของกฎหมาย

รัฐธรรมนูญ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด

พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง

ข้อบัญญัติขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่ครูให้มาเรียงจากใหญ่ไปหาเล็ก

กฎหมายลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดกับกฎหมายอันดับสูงกว่าไม่ได้ 

          การมีส่วนร่วมในการตรากฎหมายของประชาชน ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
                    ผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ จะต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง
                    รูปแบบการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ จะต้องมีหลักการเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยหรือแนวนโยบายพื้นฐาน
                    วิธีการเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ มี 2 วิธี ดังนี้
                              – การเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

                              – การเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทคนิคการสอนครูเเบงค์

https://vt.tiktok.com/ZS8nJWJkx/