กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและประเทศ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและประเทศ
กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยได้นำทรัพยากรธรรมชาติมาพัฒนาประเทศ
ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลง จึงมีการตรากฎหมายเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมอนุรักษ์ธรรมชาติ
โดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ได้แก่
– กรมทรัพยากรธรณี
– กรมควบคุมมลพิษ
– กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
– กรมทรัพยากรน้ำ
– กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
– กรมอุทยานแห่งชาติ
– กรมป่าไม้
กฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่
– พระราชบัญญัติป่าไม้
พุทธศักราช 2484
– พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. 2507
– พระราชบัญญัติน้ำบาดาล
พ.ศ. 2520
– พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ. 2535
– พระราชบัญญัติสวนสัตว์ป่า
พ.ศ. 2535
– พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2535
– พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2535 มีสาระสำคัญดังนี้
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
มีอำนาจและหน้าที่หลายประการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
กองทุนสิ่งแวดล้อม เป็นกองทุนที่มีหน้าที่บริหารเงินกองทุนเพื่อใช้ในด้านสิ่งแวดล้อม
กำหนดให้ดำเนินการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ดังนี้
– การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
– การวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
– การกำหนดเขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
– การทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การควบคุมมลพิษ กำหนดให้ดำเนินการควบคุมมลพิษ ดังนี้
– การให้คณะกรรมการควบคุมมลพิษ
– การกำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด
– การกำหนดเขตควบคุมมลพิษ
– มลพิษทางอากาศและเสียง
– มลพิษทางน้ำ
– มลพิษอื่นและของเสียอันตราย
– การตรวจสอบและควบคุม
กฎหมายภาษีอากร
ประเภทของภาษีอากร มี 2 ประเภท
คือ
– ภาษีทางตรง
หมายถึง ภาษีที่ผู้เสียภาษีจะผลักภาระภาษีให้ผู้อื่นไม่ได้ โดยจัดเก็บจากฐานรายได้หรือฐานทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า
– ภาษีทางอ้อม
หมายถึง ภาษีที่ผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ ซึ่งอาจถูกผลักไปให้ผู้บริโภคในรูปของการขึ้นราคาสินค้าและบริการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เก็บจากเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ หากไม่มีกฎหมายยกเว้นภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
– บุคคลธรรมดา
คือ บุคคลที่มีชีวิตอยู่ หากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
– ผู้ถึงแก่ความตาย
อาจเป็นกรณีที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี อาจได้เงินถึงเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
– กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
ถ้าไม่ได้แบ่งเด็ดขาด และกองมรดกนั้นก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี
– ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
เงินได้พึงประเมินและแหล่งเงินได้
เงินได้พึงประเมิน แบ่งออกเป็น
8 ประเภท ได้แก่
– ประเภทที่
1 ได้แก่ เงินได้จากการจ้างแรงงาน
– ประเภทที่
2 ได้แก่ เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
– ประเภทที่
3 เช่น ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าความนิยม ค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปีที่ได้มาจากพินัยกรรม
– ประเภทที่
4 เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่ง
– ประเภทที่
5 คือ เงินหรือประโยชน์อื่นที่ได้จากนิติกรรม
– ประเภทที่
6 คือ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
– ประเภทที่
7 คือ เงินที่ได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน
– ประเภทที่
8 คือ เงินได้จากการประกอบธุรกิจ
แหล่งเงินได้ แบ่งเป็น
– แหล่งในประเทศ
– แหล่งนอกประเทศ
การยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
การกรอกแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีวิธีกรอกดังนี้
–
กรอกรายละเอียดให้อ่านได้ง่าย ชัดเจน และถูกต้องสมบูรณ์
–
โปรดตรวจทานรายการที่จัดพิมพ์มา
–
กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิดของผู้มีเงินได้และคู่สมรสให้ชัดเจน
–
คนต่างด้าวผู้ไม่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน ให้กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
–
ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรืออาจยื่นแบบทางไปรษณีย์ส่งไปยังกองคลัง
กรมสรรพากรได้
–
ต่างจังหวัด ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นได้ที่สำนักงานสาขาทุกสาขาของธนาคารพาณิชย์ของไทย
–
ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นแบบและชำระภาษีที่ธนาคารในอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่
หรืออาจจะยื่นทางไปรษณีย์ โดยส่งไปยังสำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร
กฎหมายแรงงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่
3) พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่คุ้มครองแรงงานให้ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม
การใช้แรงงานทั่วไป
การทำงานปกติ แต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกิน
8 ชั่วโมง
การทำงานล่วงเวลา ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน
การลา มี 5 ประเภท
คือ
– ลาป่วย
การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป ลูกจ้างต้องแสดงใบรับรองแพทย์
– ลาเพื่อทำหมัน
ลาได้ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด
– ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น
– ลาเพื่อรับราชการทหาร
– ลาเพื่อฝึกอบรม
เพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถ
การกำหนดวันหยุด มี 3 ประเภท
คือ
– วันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่า 1 วัน และ ระยะห่างไม่เกิน
6 วัน
– วันหยุดตามประเพณี
โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย
– วันหยุดพักผ่อน ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า
6 วันทำงาน
การใช้แรงงานหญิง กฎหมายกำหนดข้อห้ามไว้ดังนี้
– ห้ามทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกาย
– ห้ามหญิงมีครรภ์ทำงานในส่วนของเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือนหรืองานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
หรืองานที่ต้องใช้แรงงานหนัก
การใช้แรงงานเด็ก นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้
– แจ้งพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน
– บันทึกสภาพการจ้างงานที่เปลี่ยนไปจากเดิมเก็บไว้
– แจ้งการสิ้นสุดการจ้างแรงงานต่อพนักงานตรวจภายใน
7 วัน
การจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
นายจ้างห้ามปฏิบัติดังนี้
– ห้ามมิให้จ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
– ห้ามมิให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในระหว่างเวลา
22.00 น. ถึง 6.00 น. เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า
18 ปีที่เป็นผู้แสดงภาพยนตร์ ละคร
– ห้ามมิให้ลูกจ้างที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานวันหยุด
– ห้ามมิให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงานที่อันตราย
– ห้ามมิให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานสถานที่ที่ไม่เหมาะสม
– ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน
– ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นเด็กให้แก่บุคคลอื่น
นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กมีเวลาพักวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงติดต่อกัน
หลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง ลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่น แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน
30 วัน
ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
การจ่ายค่าจ้างปกติ กรณีงานที่มีลักษณะและคุณภาพของงานอย่างเดียวกันและมีปริมาณเท่ากัน
ต้องจ่ายค่าจ้างด้วยเงินตราไทย
การจ่ายค่าจ้างกรณีต่าง ๆ มีดังนี้
– วันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน
– ลาป่วย ลูกจ้างที่ลาป่วยมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติ
แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน
– ลารับราชการทหาร ลูกจ้างที่ลาเพื่อรับราชการทหารมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติ
แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน
– ลาคลอด ลูกจ้างหญิงที่ลาคลอดบุตรมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติ
แต่ต้องไม่เกิน 45 วัน
– ทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า
1 เท่าครึ่งของค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
– ทำงานในวันหยุด
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง 2 กรณี คือ กรณีแรก ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด
นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างปกติไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง กรณีที่สอง
ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
– ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดแก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า
3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน
– ทำงานน้อยกว่าวันหยุดที่กำหนด ปกติองค์กรต้องมีวันหยุด
13 วันใน 1 ปี หากนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างหยุดงานหรือหยุดงานน้อยกว่า 13 วัน ต้องจ่ายค่าทำงานและค่าล่วงเวลาในวันหยุดแก่ลูกจ้างเสมือนทำงานในวันหยุด
กฎหมายปกครอง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง
มี 2 แบบ ดังนี้
– การปกครองแบบรวมอำนาจ หมายถึง การปกครองแบบรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางเพื่อเป็นการประสานงานทั่วไปของรัฐบาล
โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
2534 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2539
– การปกครองแบบกระจายอำนาจ หมายถึง การปกครองที่รัฐมอบอำนาจให้กับองค์กรปกครองอื่น
ๆ โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
2534 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.
2496 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2528 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น