วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์เเละการตรวจสอบและประเมินหลักฐาน



การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์

             การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ การทำความเข้าใจว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลอะไร และข้อมูลนั้นมีความหมายว่าอย่างไร

การตีความขั้นต้น
          การตีความขั้นต้น เพื่อให้ได้ความหมายตามตัวอักษรหรือตามรูปแบบภายนอก ผู้ตีความควรมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนี้
          1. การใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร ถ้อยคำและสำนวนโวหารเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เป็นหน้าที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ได้อย่างถูกต้อง
          2. อิทธิพลของทัศนคติ ค่านิยม และสภาพแวดล้อมในช่วงเวลาที่บันทึกหลักฐาน เช่น หลักฐานประเภทตำนาน
          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานมีประโยชน์ในการตีความด้วย เช่น พระราชพงศาวดาร มักยกย่องสรรเสริญพระมหากษัตริย์มากเป็นพิเศษ


การตีความขั้นลึก
          การตีความขั้นลึก ค้นหาทัศนคติของผู้เขียน ที่ไม่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาอาจมี   ข้อเท็จจริงบางอย่างแฝงอยู่ การตีความต้องตีความไปตามข้อเท็จจริง ห้ามตีความ ไปตามแนวคิดที่ตนเองเดาไว้ล้วงหน้า

ลักษณะของข้อมูลที่ได้จากการตีความหลักฐาน
          1. ความจริง คือ สิ่งที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ไม่มีข้อโต้แย้ง เพราะมีหลักฐานยืนยันแน่นอนจนปราศจากข้อสงสัย
          2. ข้อเท็จจริง คือ ความคิด ความเชื่อ หรือข้อมูลที่ต้องการหลักฐานมายืนยันเพื่อพิสูจน์หาความจริง ข้อเท็จจริงจึงต่างกับความจริง เพราะสิ่งที่เป็นความจริงไม่มีหลักฐานอื่นใดที่จะทำให้ความจริงนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานที่ดีกว่าหลักฐานเดิมมาสนับสนุน
          3. ความคิดเห็น เป็นสิ่งที่เกิดจากประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ความรู้สึกของบุคคล แล้วแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นคำพูดหรือข้อเขียน ซึ่งอาจมีหรือไม่มีหลักฐานประกอบก็ได้

การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน

           การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. การประเมินภายนอก
          การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

          1. อายุของหลักฐาน การรู้ว่าหลักฐานสร้างหรือเขียนขึ้นเมื่อไร ทำให้เราตีความสำนวนภาษาที่ใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจสิ่งที่หลักฐานกล่าวถึงโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นมาประกอบ
          2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน การรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐานทำให้เราสืบค้นได้ว่า ผู้นั้นมีภูมิหลังอย่างไร เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือไม่ มีอคติต่อสิ่งที่สร้างหรือเขียนหรือไม่
          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานช่วยให้ประเมินความน่าเชื่อถือได้ เช่น โคลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงด้านลบของพระมหากษัตริย์องค์นั้น จากหลักฐานที่ยกตัวอย่างมานั้น เมื่อนำมาใช้จะต้องแยกแยะข้อเท็จจริงออกมาให้ได้
          4. รูปเดิมของหลักฐาน หลักฐานเป็นจำนวนมาไม่ใช่หลักฐานดั้งเดิม แต่ผ่านการคัดลอกต่อๆ กันมาจึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการชำระมักมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อความ แก้ไขสำนวนโวหาร รวมทั้งแทรกทัศนคติของยุคสมัยที่มีการชำระพระราชพงศาวดารนั้นลงไปด้วย ทำให้ผิดไปจากหลักฐานเดิม

2. การประเมินภายใน
           เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง
           ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

          พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติช มิวเซียม และ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าสร้างเมื่อศักราช 810 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (ตรงกับพ.ศ. 1991)
          พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่าสร้างเมื่อศักราช 826 วอกศก (ตรงกับพ.ศ. 2007)
          จะเห็นว่า หลักฐานชิ้นหลังระบุเวลาห่างจากหลักฐาน 2 ชิ้นแรก 16 ปี

          หลักฐานทั้งหมดที่ยกมาเป็นหลักฐานชั้นรอง ควรหาหลักฐานชั้นต้นมาเทียบ คือ ศิลาจารึกวัดจุฬามณี ปรากฏว่าจารึกระบุว่า พระวิหารวัดจุฬามณีสร้างเมื่อ “ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร” ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ
          หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง หลักฐานที่ให้ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง นำส่วนที่เป็นจริงไปใช้ได้ ส่วนหลักฐานที่เป็นเท็จทั้งหมดไม่นำไปใช้ในการศึกษา


การประเมินภายนอกภายในเเบบภาษาง่ายๆ


การประเมินภายในจะดูว่าหลักฐานนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ เป็นการเจาะลึกถึงผู้สร้าง ว่าเกี่ยยวข้องกับหลักฐานนั้นมากน้อยเพียงใดมีจุดมุ่งหมายอะไร
ระยะเวลาของการเกิดหลักฐานเรื่องราวในหลักฐาน


การประเมินภายนอก ดูว่าของจริงหรือของปลอม
ดูจากอายุของหลักฐาน พิจารณาได้จาก ตัวอักษร สำนวนภาษา ผู้สร้างหลักฐาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทคนิคการสอนครูเเบงค์

https://vt.tiktok.com/ZS8nJWJkx/