การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เปลี่ยนจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีผลกระทบต่อสังคมไทยในปัจจุบัน ดังนี้
ด้านการเมืองการปกครอง ให้มีการจัดสถาบันทางการเมืองรองรับการใช้อำนาจอธิปไตยประชาชน
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางการเมืองการปกครองที่สำคัญ มีดังนี้
– สถาบันกษัตริย์
เปลี่ยนเป็นสถาบันที่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
– สภาผู้แทนราษฎร
ตั้งเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง
– ศาล
เป็นสถาบันการเมืองที่ใช้อำนาจตุลาการ พิจารณาคดีความ
– รัฐธรรมนูญ เป็นสถาบันการเมืองที่กำหนดการใช้อำนาจอธิปไตย
– พรรคการเมือง
เป็นสถาบันที่รวมคนอุดมการณ์เดียวกันมาทำงานการเมือง
– การเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร
– การกระจายอำนาจปกครอง
เพื่อให้ประชาชนได้ปกครองตนเองตามหลักประชาธิปไตย
ด้านสังคม มีผลกระทบ ดังนี้
– ด้านการศึกษา
มีการจัดระบบการศึกษาใหม่ทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา และจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ความเสมอภาคของประชาชน
ทำให้ประชาชนชาวไทยมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
– ด้านวัฒนธรรม
คนในสมัยต่อมาจึงนิยมแต่งกายแบบสากลมากกว่าแต่งกายแบบดั้งเดิมของไทย
ด้านเศรษฐกิจ มีผลกระทบ ดังนี้
มีการโจมตี เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรถุนแรงภายในรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากมีการกล่าวหาว่า หลักการของเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้เป็นแนวคิดของหลักการคอมมิวนิสต์
มีการโจมตี เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรถุนแรงภายในรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากมีการกล่าวหาว่า หลักการของเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้เป็นแนวคิดของหลักการคอมมิวนิสต์
– ปรับปรุงแก้ไขเรื่องภาษีอากรต่าง
ๆ ให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม
– ออกกฎหมายห้ามมิให้เจ้าของที่ดินและนายทุนยึดเครื่องมือและที่ดินทำกินของชาวนา
– ปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการให้เป็นธรรมมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น