วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

พระพุทธศาสนา สอง ม สอง

พุทธประวัติ


คำว่ามารในพุทธศาสนา คือ สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดี สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี
การผจญมาร ทรงค้นหาความจริงว่า ความทุกข์ของชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะทำอย่างไรเพื่อให้รอดพ้นทุกข์ได้ พระอาทิตย์ตกดิน จอมมารวสวัตดี ได้ขัดขวางการทำความดีของพระองค์ แต่พระองค์ก็เอาชนะได้ด้วยความนิ่ง จึงได้บำเพ็ญเพียรต่อได้บรรลุญาณ เมื่อตรัสรู้แล้วก็ยังนั่งประทับที่โคนต้นพระศรีมหาโพธินั้นเป็นเวลา ๗ วัน ระหว่างประทับมีเรื่องเล่าว่า พญามารได้แสดงเป็นสตรีเพศวัยต่าง ๆ เพื่อจะนำพระพุทธเจ้ามาอยู่ในอำนาจ แต่ไม่สำเร็จเพราะพระองค์ได้ทรงแสดงพระวาจาประกาศความเป็นผู้สิ้นกิเลสไม่สนพระทัย ธิดามารทั้ง ๓ ซึ่งมาร ในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย
– กิเลสมาร หมายถึง มารคือกิเลสยั่วยุให้คิดในกามคุณ
– ขันธมาร หมายถึง มารเป็นความหลงใหลที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
– อภิสังขารมาร หมายถึง มารที่ขัดขวางมิให้หลุดพ้น
– เทวปุตตมาร หมายถึง มารคือเทวบุตร เหนี่ยวรั้งไม่ให้ล่วงพ้น
– มัจจุมาร หมายถึง มารคือความตาย
 คำว่ามารในพุทธศาสนา คือ สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดี สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี

การตรัสรู้ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
การสั่งสอนธรรม  ประกาศพระศาสนาและมีผู้เลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก ก่อให้เกิดพุทธบริษัท ๔ ในเวลาต่อมา การศึกษาเกี่ยวกับการผจญมาร การตรัสรู้ และการสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้าทำให้เห็นถึงความพยายาม ตลอดจนวิธีการสั่งสอนธรรม ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้

 ชาดก
พระองค์ทรงสอนทุกเรื่องให้ข้อคิดและคติธรรม เช่น
– มิตตวินทุกะชาดก ให้ข้อคิดเรื่อง เป็นคนสอนยากและเห็นกงจักรเป็นดอกบัว ย่อมเป็นที่รำคาญของผู้อื่นและความโลภการไม่รู้จักพอ





ราโชวาทชาดก ให้ข้อคิดเรื่อง การเป็นผู้นำที่ดีต้องประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นที่พึ่งให้กับผู้ตามได้ จึงจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  เรื่องมีอยู่ว่า กษัตริย์ปกครองแผ่นดินอย่างดี อยากรู้ว่าจะมีใครว่าเขาบ้างว่าปกครองไม่ดีปรากฎว่าไม่มีใครเลย เขาจึงปลอมตัวเข้าไปในป่าพบฤาษี ฤาษีก็ให้ผลไม้ป่าซึ่งพอกษัตริย์ที่ปลอมตัวมากินเข้าไปก็อร่อยมากๆเลยถามฤาษีไปว่าทำไมอร่อยจัง ฤาษีก็บอกไปว่าถ้ากษัตริย์ปกครองดี ผลไม้จะมีรสหวาน กษัตริย์เลยถามกลับไปว่าแล้วถ้ากษัตริย์ปกครองไม่ดีละ ฤาษีบอกไปว่าผลไม้จะไม่อร่อย
                กษัตริย์ก็เลยอยากจะลองว่าจริงที่ฤาษีพูดเปล่าเลยไม่ประพฤติปฎิธรรมเป็นปี กษัตริย์ไปหาฤาษีอีกครั้งแต่พอกินเสร็จก็แทบจะกินไม่ได้ต้องคายออกมาเพราะมันขม

                ฤาษีก็เลยสอนไปว่า  พ่อหนุ่ม คงเป็นเพราะพระราชาไม่ทรงครองราชย์โดยธรรมแน่ๆเลย ธรรมดาฝูงโคว่ายข้ามแม่น้ำ ถ้าจ่าฝูงว่ายคดไปคดมา ฝูงโคที่ตามมาข้างหลังก็ว่ายคดตามไปด้วย เหมือนหมู่มนุษยถ้าผู้นำประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนก็ประพฤติตนไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน ถ้าพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม ทวยราษฎร์เป็นทุกข์ทั่วกัน
                ถ้าจ่าฝูงโคว่ายข้ามแม่น้ำไปตรงๆฝูงโคที่ว่ายตามมาก็ว่ายตรงเช่นกัน เหมือนหมู่มนุษย์ถ้าผู้นำประพฤติธรรม ประชาชนต้องประพฤติเป็นธรรมเช่นกัน ถ้าพระราชาตั้งอยู่ในธรรมทวยราษฎร์ก็อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้า


สถาปัตยกรรม  การออกแบบการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ สิ่งก่อสร้างสำคัญเช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดสุทัศนเทพวรราม
ประติมากรรมการปั้น การแกะสลัก สิ่งก่อสร้างที่สำคัญ
พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในสมัยรัชกาลที่ 3
พระพุทธอังคีรสพระประธานในพระอุโบสสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในสมัยรัชกาลที่ 5 นักเรียนคุ้นๆวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามกันเปล่า


จิตรกรรม  การวาดภาพส่วนใหญ่จะเป็นพุทธประวัติและชาดก จะมีเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาบ้าง ยิ่งช่วงสมัยรัชกาลที่สี่ถึงห้า จะมีรูปแบบเป็นแบบตะวันตกมากขึ้น

พระพุทธศาสนา ม สองหนึ่ง

พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน
พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตออกประกาศพระพุทธศาสนา ถึงเก้าสาย สายที่สำคัญที่สุดคือสายที่ 8
พระโสรณเถระและพระอุตตรเถระได้เป็นหัวหน้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ

การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
– กลุ่มประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
– กลุ่มประเทศที่ประชากรบางส่วนนับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

พระพุทธศาสนาในพม่า 
มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือเจดีย์ชเวดากอง พระพุทธศาสนารุ่งเรื่องมากๆในสมัยพระเจ้าอนุรุทธหรือพระเจ้าอโนรธามังช่อ
พระเจ้ามินดงได้มีการทำสังคายนาพระไตรปิกฎ
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
พระเจ้าฟ้างุ้มได้ให้ลาวนับถือพระพุทธศาสนาในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทำสร้างวัดพระธาตุหลวง เป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญในลาว
 พระพุทธศาสานาในประเทศกัมพูชา
พระเจ้าชัยวรมันที่ ทรงสร้างปราสาทบายนซึ่งมีอิทธิพลของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาในกัมพูชาเสื่อมมากๆในสมัยเขมรแดงซึ่งคอมมิวนิสต์ปกครอง วัดถูกทำลาย ถูกบังคับจับสึก ห้ามคนใส่บาตร แต่ปัจจุบันพวกเขมรแดงไม่มีแล้วนะ พวกนี้ละที่จับคนใส่แว่นฆ่าทิ้งไปจำนวนมาก
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน
คอมมิวนิสต์เข้ามายึดครองเวียดนาม พระพุทธศาสนาได้ถูกกีดกันอย่างเข้มงวด
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
อาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือบุโรพุธโธ
พระพุทธศาสนาในมาเลเซีย
ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานมานานหลายร้อยปี
ต่อมากษัตริย์มลายูหันไปนับถือศาสนาอิสลาม และทำลายศาสนสถาน พระพุทธรูป และเทวรูป บังคับให้หันมานับถือศาสนาอิสลาม
หลังจากมาเลเซียที่ได้เอกราชจากอังกฤษ พระพุทธศาสนาในมาเลเซียได้รับการฟื้นฟู    
พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐสิงคโปร์
พระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้ามาสู่สิงคโปร์เป็นนิกายมหายาน
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
แนวทางสร้างความเข้าใจอันดีกับมิตรประเทศของพระเจ้าอโศกมหาราชในศิลาจารึพระองค์ สรุปได้ดังนี้
หลักสังคหวัตถุ 4 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจไว้ในความสามัคคี
หลักสาราณียธรรม 6 เป็นหลักคำสอนที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
– ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม
– ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นเอกลักษณ์และมรดกของชาติ

ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม
ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาชุมชนด้านวัตถุ พระสงฆ์ไม่ได้ลงมือปฏิบัติเอง แต่เป็นผู้ริเริ่มและให้คำปรึกษา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาก็มีส่วนช่วยในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้า เกิดความสงบสุขขึ้นในชุมชน เช่น อปริหานิยธรรม ๗ ดังนี้
– ประชุมกัน
– เข้าประชุม เลิกประชุม และช่วยกันทำกิจกรรม
– ไม่บัญญัติสิ่งที่ขัดต่อหลักการ
– เคารพนับถือและรับฟัง
– ไม่ข่มเหงรังแก
– เคารพปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ
– อารักขา และปกป้องพระสงฆ์ผู้ทรงศีล

  
การพัฒนาชุมชนด้านจิตใจ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสงฆ์ด้วยความศรัทธา ต้องพัฒนาคนในชุมชนมีคุณธรรมและจริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ช่วยกันสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชนหรือสังคมด้านจิตใจ เช่น
อารยวัฒิ ๕ หมายถึงข้อปฎิบัติที่นำไปสู่ความเป็นอารายะชนคือ ผู้เจริญ ดังนี้
– งอกงามด้วยศรัทธา มีความเชื่อที่มีเหตุผล
– งอกงามด้วยศีล มีความประพฤติดีงามกายวาจา
– งอกงามด้วยสุตะ ขยัน
– งอกงามด้วยปัญญา มีความรู้
– งอกงามด้วยจาคะ  เสียสละ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการจัดระเบียบสังคมไทย มี 2 วิธี ดังนี้
– การออกกฎหมาย เพื่อควบคุมความประพฤติในสังคม
– การให้การศึกษาอบรม เป็นการปลูกจิตสำนึกในสังคมให้รู้จักคุณและโทษ 

วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์เเละการตรวจสอบและประเมินหลักฐาน



การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์

             การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ การทำความเข้าใจว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลอะไร และข้อมูลนั้นมีความหมายว่าอย่างไร

การตีความขั้นต้น
          การตีความขั้นต้น เพื่อให้ได้ความหมายตามตัวอักษรหรือตามรูปแบบภายนอก ผู้ตีความควรมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนี้
          1. การใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร ถ้อยคำและสำนวนโวหารเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เป็นหน้าที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ได้อย่างถูกต้อง
          2. อิทธิพลของทัศนคติ ค่านิยม และสภาพแวดล้อมในช่วงเวลาที่บันทึกหลักฐาน เช่น หลักฐานประเภทตำนาน
          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานมีประโยชน์ในการตีความด้วย เช่น พระราชพงศาวดาร มักยกย่องสรรเสริญพระมหากษัตริย์มากเป็นพิเศษ


การตีความขั้นลึก
          การตีความขั้นลึก ค้นหาทัศนคติของผู้เขียน ที่ไม่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาอาจมี   ข้อเท็จจริงบางอย่างแฝงอยู่ การตีความต้องตีความไปตามข้อเท็จจริง ห้ามตีความ ไปตามแนวคิดที่ตนเองเดาไว้ล้วงหน้า

ลักษณะของข้อมูลที่ได้จากการตีความหลักฐาน
          1. ความจริง คือ สิ่งที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ไม่มีข้อโต้แย้ง เพราะมีหลักฐานยืนยันแน่นอนจนปราศจากข้อสงสัย
          2. ข้อเท็จจริง คือ ความคิด ความเชื่อ หรือข้อมูลที่ต้องการหลักฐานมายืนยันเพื่อพิสูจน์หาความจริง ข้อเท็จจริงจึงต่างกับความจริง เพราะสิ่งที่เป็นความจริงไม่มีหลักฐานอื่นใดที่จะทำให้ความจริงนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานที่ดีกว่าหลักฐานเดิมมาสนับสนุน
          3. ความคิดเห็น เป็นสิ่งที่เกิดจากประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ความรู้สึกของบุคคล แล้วแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นคำพูดหรือข้อเขียน ซึ่งอาจมีหรือไม่มีหลักฐานประกอบก็ได้

การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน

           การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. การประเมินภายนอก
          การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

          1. อายุของหลักฐาน การรู้ว่าหลักฐานสร้างหรือเขียนขึ้นเมื่อไร ทำให้เราตีความสำนวนภาษาที่ใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจสิ่งที่หลักฐานกล่าวถึงโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นมาประกอบ
          2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน การรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐานทำให้เราสืบค้นได้ว่า ผู้นั้นมีภูมิหลังอย่างไร เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือไม่ มีอคติต่อสิ่งที่สร้างหรือเขียนหรือไม่
          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานช่วยให้ประเมินความน่าเชื่อถือได้ เช่น โคลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงด้านลบของพระมหากษัตริย์องค์นั้น จากหลักฐานที่ยกตัวอย่างมานั้น เมื่อนำมาใช้จะต้องแยกแยะข้อเท็จจริงออกมาให้ได้
          4. รูปเดิมของหลักฐาน หลักฐานเป็นจำนวนมาไม่ใช่หลักฐานดั้งเดิม แต่ผ่านการคัดลอกต่อๆ กันมาจึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการชำระมักมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อความ แก้ไขสำนวนโวหาร รวมทั้งแทรกทัศนคติของยุคสมัยที่มีการชำระพระราชพงศาวดารนั้นลงไปด้วย ทำให้ผิดไปจากหลักฐานเดิม

2. การประเมินภายใน
           เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง
           ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

          พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติช มิวเซียม และ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าสร้างเมื่อศักราช 810 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (ตรงกับพ.ศ. 1991)
          พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่าสร้างเมื่อศักราช 826 วอกศก (ตรงกับพ.ศ. 2007)
          จะเห็นว่า หลักฐานชิ้นหลังระบุเวลาห่างจากหลักฐาน 2 ชิ้นแรก 16 ปี

          หลักฐานทั้งหมดที่ยกมาเป็นหลักฐานชั้นรอง ควรหาหลักฐานชั้นต้นมาเทียบ คือ ศิลาจารึกวัดจุฬามณี ปรากฏว่าจารึกระบุว่า พระวิหารวัดจุฬามณีสร้างเมื่อ “ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร” ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ
          หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง หลักฐานที่ให้ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง นำส่วนที่เป็นจริงไปใช้ได้ ส่วนหลักฐานที่เป็นเท็จทั้งหมดไม่นำไปใช้ในการศึกษา


การประเมินภายนอกภายในเเบบภาษาง่ายๆ


การประเมินภายในจะดูว่าหลักฐานนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ เป็นการเจาะลึกถึงผู้สร้าง ว่าเกี่ยยวข้องกับหลักฐานนั้นมากน้อยเพียงใดมีจุดมุ่งหมายอะไร
ระยะเวลาของการเกิดหลักฐานเรื่องราวในหลักฐาน


การประเมินภายนอก ดูว่าของจริงหรือของปลอม
ดูจากอายุของหลักฐาน พิจารณาได้จาก ตัวอักษร สำนวนภาษา ผู้สร้างหลักฐาน


การเสียกรุงศรีอยุธยา





เสียกรุงครั้งที่  1







                                                               เสียกรุงครั้งที่ 2













พงศาวดารที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยา

พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์   นักประวัติศาสตร์ว่าน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื้อหาในพงศาวดารตั้งเเต่สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงพระนเรศวรมหาราช

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต  กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจนถึงต้นแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม ตั้งเเต่สร้างกรุงศรีอยุธยาถึงพระเจ้าตากสินถูกสำเร็จโทษ

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ตั้งเเต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นไปเป็นพงศาวดารฉบับเดียวที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในปลายสมัยพระนารายณ์อย่างค่อนข้างแม่นยำ

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม ) (ประชุมพงศาวดารภาค ๖๔)ตั้งเเต่สร้างกรุงศรีอยุธยาถึงสิ้นสุดสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช

พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ  ( เจิม )(ประชุมพงศาวดารภาค ๖๕) กรุงศรีอยุธยา  สุดลงเพียงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือหรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8

วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ม 2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์



หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือโดยมนุษย์ได้ทิ้งร่องรอยขีดเขียนเป็นตัวหนังสือประเภทต่างๆ ในรูปของการจารึกในศิลาจารึกและการจารึกบนแผ่นโลหะ นอกจากนี้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรประเภทอื่น เช่น พงศาวดาร จดหมายเหตุ ตำนาน และกฎหมาย
หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ วัตถุที่มนุษย์แต่ละยุคแต่ละสมัยได้สร้างขึ้น และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น โบราณสถาน ประกอบด้วย วัด เจดีย์ มณฑป และโบราณวัตถุ ประกอบด้วย พระพุทธรูป ถ้วยชามสังคโลก

หลักฐานที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร ได้แก่

1. โบราณสถาน หมายถึง สิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ขนาดต่างๆกัน อยู่ติดกับ
พื้นดินไม่อาจนำเคลื่อนที่ไปได้ เช่น กำแพงเมือง คูเมือง วัง วัด ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในวัด
และวัง เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และที่อยู่อาศัย
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณสถาน จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ตั้งของโบราณสถานนั้นๆ
2. โบราณวัตถุ หมายถึง สิ่งของโบราณที่มีลักษณะต่างๆกัน สามารถนำติดตัว
เคลื่อนย้ายได้ ไม่ว่าสิ่งของนั้นๆ จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น หรือเป็น  ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน และสิ่งของที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเหล่านี้เกิดขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ


ม 2 ด้านสังคมกับเศรษฐกิจ






เสริมจากด้านนนะ

 เจ้านาย หมายถึง เชื้อพระวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ยศของเจ้านายมี 2 ประเภท คือ
                        (1) สกุลยศ ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด      
                        (2) อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับจากพระมหากษัตริย์

 ขุนนาง จะใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ ขุนนางแต่ละระดับจะพิจารณาจากยศหรือบรรดาศักดิ์ ราชทินนาม ตำแหน่ง และศักดินา ดังนี้
                         (1) ยศ แสดงถึงลำดับขั้นขุนนาง เช่น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน
                         (2) ราชทินนาม เป็นนามที่ได้พระราชทาน แสดงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบเช่น จักรีศรีองครักษ์
                          (3) ตำแหน่ง หน้าที่ในราชการเช่น สมุหนายก สมุหพระกลาโหม เสนาบดี เจ้ากรม เป็นต้น
                         (4) ศักดินา เครื่องกำหนดฐานะทางสังคมผู้ที่ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปจะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ และสามารถตั้งทนายว่าความให้ตนเองเมื่อเกิดคดีความ ได้รับยกเว้นการเสียภาษีที่นา ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุด และถือเป็นสมบัติของนายทาส มี 7 ประเภท

(1) ทาสสินไถ่ คือขายตัวเองเป็นทาส
(2) ทาสในเรือนเบี้ย ลูกทาส
(3) ทาสที่ได้จากบิดามารดา
(4) ทาสมีผู้ให้
(5) ทาสที่ช่วยเหลือจากทัณฑโทษ
(6) ทาสอันได้เลี้ยงไว้ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย
(7) ทาสเชลย


พระสงฆ์ ทุกชนชั้นต่างให้ความเคารพนับถือพระสงฆ์ และชนชั้นต่าง ๆ สามารถบวชได้ เมื่อบวชแล้วทุกคนจะมีฐานะเท่าเทียมกัน


การเลื่อนฐานะทางสังคม
การเลื่อนฐานะทางสังคมเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้คนแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเอง เพื่อนยกฐานะทางสังคมให้สูงขึ้น

เสริมศักดินานะ  พระมหากษัตริย์ทรงไม่มีศักดินา พระมหาอุปราชมีศักดินา 100000 
สมุหนายก สมุหกลาโหม โกษาธิบดี  มีศักดินาเท่ากัน  10000
ทาสมีน้อยสุด 5 ไร่


เศรษฐกิจบ้าง



การค้าผูกขาดโดยพระคลังสินค้า  ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าต้องห้าม ผูกขาดซื้อกับประชาชนเเละขายให้ต่างชาติ สินค้าต้องห้ามเช่น ของป่า ไม้กฤษณา งาช้าง อาวุธ กระสุนดินดำ ๆลๆ พระคลังสินค้านี่ทำรายได้ให้กับรัฐอย่างมหาศาลเลยนะ
เเต่ชาติตะวันตกไม่ชอบพระคลังสินค้าเอามากๆเพราะเขาบอกว่าพระคลังสินค้าเอาเปรียบพวกเขา

เงินตรา
1. พดด้วง ทำจากโลหะเงิน มีตราประทับหลายแบบ
2. เบี้ย นำเปลือกหอยทะเลมาใช้เป็นเงิน
3. ไพและกล่ำ ทำจากโลหะที่ไม่ใช่เงิน
4. ประกับ ทำจากดินเผาตีตราประทับ ใช้แทนเบี้ยที่ขาดแคลน



รายได้ของอาณาจักร
1. จังกอบ ค่าผ่านด่าน มี 2 แบบ ได้แก่ จังกอบสินค้า และจังกอบปากเรือ
2. อากร คือ ภาษีที่เก็บจากราษฎร มีดังนี้ อากรค่านา อากรสมพัตสร อากรศุลกากร อากรสวน อากรตลาด อากรค่าน้ำ อากรบ่อนเบี้ย อากรสุรา
อากรสมพัตสร เป็นภาษีที่เก็บจากผลไม้ล้มลุก เช่น กล้วย อ้อย เป็นต้น
อากรค่าน้ำ เก็บจากเครื่องมือจับสัตว์น้ำ
ในสมัยพระนารายณ์มหาราชได้เปลี่ยนจากเก็บผลผลิตเป็นเงินแทน
3. ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากราษฎรในกิจการที่ทางราชการจัดการให้เช่น การตัดสินคดีความ
4. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ส่งให้ราชสำนักเเทนการเกณฑ์เเรงงาน เช่น ส่วยแรงงาน บรรณาการ

รายจ่ายของอาณาจักร เรียกอีกอย่างว่า รายจ่ายราชทรัพย์ เพราะในสมัยอยุธยารายได้ของอาณาจักรถือว่าเป็นรายได้ของพระมหากษัตริย์ มี 4 ประเภท ได้แก่
1. รายจ่ายเป็นเบี้ยหวัด ให้กับเจ้านายและขุนนาง
2. รายจ่ายในการทหาร เพื่อบำรุงกิจการของกองทัพให้เข้มแข็ง
3. รายจ่ายในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
4. รายจ่ายอื่น ๆ เช่น รายจ่ายในพระราชพิธีต่าง ๆ รายจ่ายในการสงเคราะห์คนอนาถา


ม 2 ประวัติศาสตร์ การปกครองสมัยอยุธยานะ

รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) อยุธยาตอนต้น
 ราชธานี- กรุงศรีอยุธยา
 • ระบอบการปกครอง
เทวราชา
- รับแนวคิดมาจากศาสนาพราหมณ์- ฮินดู (ผ่านทางเขมร)
- พัฒนามาจากระบอบปิตุลาธิปไตย เพราะต้องการความมั่นคงของอาณาจักรที่มี
ขนาดใหญ่กว่าเดิม
กษัตริย์เปรียดังสมมติเทพถือว่ากษัตริย์เป็นองค์อวตารของเทพ เป็นเสมือนเจ้าชีวิตเพราะฉะนั้นกษัตริย์จะมีอำนาจมากๆ เนื่องจากอาณาจักรกว้างขวางขึ้น และคนเยอะขึ้น ทําให้ความสัมพันธ์ของ
ประชาชนเป็นไปอย่างห่างเหิน ไม่ใกล้ชิด เพื่อความมั่นคงและการขยายอาณาจักร


เเต่เดียวก่อน  ในสมัยนี้เเต่ถึงอย่างไรกษัตริย์จะมีอำนาจมากเเต่ มีธรรมราชาคือยึดหลักธรรมในการปกครอง เช่น ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร 5 และ 12  ราชสังคหวัตถุ 4  ทรงเอาธรรมราชามาใช่ควบคู่กับเทวราชา 

การปกครองส่วนกลาง
 • จตุสดมภ์ แบ่งออกเป็น 4 กรม

เวียง

 ขุนเวียง
- รักษาความสงบเรียบร้อยของพระนคร
- ปราบปรามโจรผู้ร้าย
- ลงโทษผู้กระทําความผิด


วัง 

ขุนวัง - ดูแลกิจการของราชสํานัก
- พิจารณาตัดสินคดีความ
- สํานักพระราชวัง
- กระทรวงยุติธรรม


คลัง 
ขุนคลัง
- ดูแลผลประโยชน์ของแผ่นดิน
- เก็บรักษาพระราชทรัพย์
- การค้า การต่างประเทศ และภาษีต่างๆ



นา 

ขุนนา - การออกสิทธิ์ในการทําไร่ทํานา
- เก็บภาษีและผลผลิตเข้าสู่ศูนย์กลาง




 1.3 การปกครองส่วนภูมิภาค - แบ่งออกเป็น 4 ส่วน
 เมืองหน้าด่าน (เมืองลูกหลวง)
 - ห่างจากราชธานี 2 วัน (เดินเท้า)
 - ป้องกันราชธานี 4 ทิศ
 - ผู้ปกครอง คือ พระราชโอรส หรือเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง



                                                              ภาพหัวเมืองลูกหลวงสมัยอยุธยา

 • หัวเมืองชั้นใน
 - หัวเมืองสําคัญ ไม่ไกลจากราชธานีมากนัก
 - ติดต่อกันได้สะดวก
 - ราชสํานักแต่งตั้งขุนนางไปปกครอง ต้องปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด
 • หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร)
 - อยู่ไกลจากราชธานีพอสมควร
 - ผู้ปกครอง คือ เจ้าท้องถิ่น หรือขุนนา
 • หัวเมืองประเทศราช
 - ผนวกได้จากการทําสงคราม หรือการอ่อนน้อมรับในอํานาจของอยุธยา
 - ผู้ปกครอง คือ เจ้าเมืองเดิม และมีอิสระในการปกครองตนเองอย่างเต็มที่
 - ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการถวายแก่กษัตริย์แห่งอยุธยา
 - เมื่อเกิดสงครามต้องส่งกองทัพเข้าร่วมรบกับอยุธยา  




การปกครองรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อยุธยาตอนกลาง
 ราชธานี- กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง
 การปกครองส่วนกลาง จตุสดมภ์
เวียง (เมือง) นครบาล ขุนเวียง เจ้าพระยายมราช
วัง ธรรมาธิกรณ์ ขุนวัง พระยาธรรมาธิบดี
คลัง โกษาธิบดี ขุนคลัง พระยาโกษาธิบดี
นา เกษตราธิการ ขุนนา พระยาพลเทพ
 • การแบ่งการบริหารราชการออกเป็น 2 ส่วน มีการเเบ่งเเยกหน้าที่ระหว่างฝ่ายพลเรือนเเละฝ่ายทหาร
 - สมุหกลาโหม (เจ้าพระยามหาเสนาบดี) - ควบคุมดูแลกิจการทหารทั่วราชอาณาจักร
กรมอาสา
กรมม้า
กรมช้าง
กรมช่างสิบหมู่
 - สมุหนายก (เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์) - ควบคุมดูแลราชการฝ่ายพลเรือน และจตุสดมภ์
พระมหากษัตริย์
นครบาล (เวียง)
ธรรมาธิกรณ์ (วัง)
โกษาบดี (คลัง)
เกษตราธิการ (นา)



ปัจจัยที่ทําให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูประบบการปกครองและบริหารราชการแผ่นดิน
 - อาณาเขตของอยุธยากว้างขึ้น ระบบเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น และไพร่พลมีจํานวนมากขึ้น
ทําให้จําเป็นต้องมีการขยายหน่วยงานมากขึ้นด้วย
 - ปัญหาการแย่งชิงอํานาจ - ราชวงศ์ที่ครองเมืองลูกหลวงมักสะสมกําลังเพื่อแย่งชิงอํานาจ
เช่น ในรัชสมัยพระราเมศวรครองราชย์ครั้งที่ 1 ขุนหลวงพ่องั่วยกทัพมาแย่งชิงพระราชบัลลังก์หรือภายหลัง
พระเจ้าอินทราชาเสด็จสวรรคต เจ้าอ้าย และเจ้ายี่ ทําสงครามแย่งชิงราชสมบัติสิ้นพระชนม์ทั้งคู่เจ้าสามพระยา
จึงได้ขึ้นครองราชย์
การปกครองส่วนภูมิภาค
 ­ •  - ยกเลิกเมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง 
 ­ • หัวเมืองชั้นใน
 - มีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวามีคนปกครองคือผู้รั้ง
 ­ • หัวเมืองชั้นนอก
 - อยู่ถัดเมืองชั้นในออกไป แบ่งออกเป็นชั้นเอก โท ตรีตามขนาดและความสําคัญของเมือง
 - ผู้ปกครอง คือ ขุนนาง หรือ เจ้านายท้องถิ่น
หัวเมืองชั้นเอก - เมืองขนาดใหญ่ มีความสําคัญทางด้านยุทธศาสตร์ กษัตริย์จะแต่งตั้งราชวงศ์หรือขุนนางชั้นสูงไปปกครอง
 หัวเมืองชั้นโท - ขนาดและความสําคัญรองลงมา
หัวเมืองชั้นตรี     - เมืองเล็กๆ
 ­ • หัวเมืองประเทศราช
 - มีอิสระในการปกครอง โดยเจ้าท้องถิ่น
 - ส่งเครื่องราชบรรณาการ และกองทัพ เมื่อเกิดสงคราม






การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชา
ปัจจัยที่นําไปสู่การปรับปรุงการปกครอง
 ­ • สมุหกลาโหมมักก่อการยึดอํานาจกษัตริย์ เนื่องจากเป็นผู้ควบคุมดูแลฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร
ทําให้มีอิทธิพลและอํานาจ จึงมักสะสมกําลังและไพร่พล
 ­ • เวลาเกิดสงครามเกิดปัญหาในการควบคุมไพร่พล เพราะมีการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างฝ่าย
ทหารและพลเรือน


การปกครองส่วนกลาง - แบ่งเขตและหน้าที่การปกครองใหม่

ข้อควรจำนะตัวเธอ

สมุหนายกจะดูเเลหัวเมืองฝ่ายเหนือด้วย
สมุหกลาโหม จะดูเเลฝ่ายหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย
โกษาธิบดี จะดูเเลหัวเมืองหัวเมืองั่งตะวันออกด้วย ในภาพที่ครูให้ไปจะผิดเเค่จุดนี้





เสริมความรู้นะ รู้ไว้ใช่ว่า  หน่วยงานในการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ
 1. กรมท่าขวา (พระยาจุฬาราชมนตรี - แขก) ดูแลการค้ากับดินแดนทางตะวันตก เช่น
แขก อินเดีย เปอร์เซีย มัวร์อาหรับ
 2. กรมท่าซ้าย (พระยาโชฎึกราชเศรษฐี- จีน) ดูแลการค้ากับดินแดนทางตะวันออก เช่น
จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น
 3. กรมท่ากลาง (มีขึ้นทีหลัง) ดูแลชาวตะวันตก

เทคนิคการสอนครูเเบงค์

https://vt.tiktok.com/ZS8nJWJkx/