พระรัตนตรัย หมายถึง แก้ว ๓ ดวง ได้แก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ซึ่งคุณของพระธรรม เรียกว่า ธรรมคุณ ๖ ได้แก่
๑. พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
๒. พระธรรมเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะเห็นได้ด้วยตนเอง สนฺทิฏฺฐิโก
๓. พระธรรมไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา อกาลิโก
๔. พระธรรมควรเรียกมาให้ดู เอหิปสฺสิโก
๕. พระธรรมควรน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติ โอปนยิโก
๖. พระธรรมอันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
อริยสัจ ๔ หลักความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
– ทุกข์ คือ ความไม่สบาย
– สมุทัย คือ สาเหตุของทุกข์
– นิโรธ คือ ความดับทุกข์
– มรรค คือ แนวทางที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์
ทุกข์ ธรรมที่ควรรู้ อายตนะ หมายถึง เครื่องรับรู้และสิ่งที่ถูกรู้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
– อายตนะภายใน ๖
– อายตนะภายนอก ๖
สมุทัย ธรรมที่ควรละ หลักกรรม (สมบัติ ๔–วิบัติ ๔) อกุศลกรรมบถ ๑๐ และอบายมุข ๔
– กรรม เป็นหลักคำสอนที่สำคัญข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา
– สมบัติ ๔ เป็นองค์ประกอบต่างๆ ที่ช่วยให้ปรากฏผลดีชัดยิ่งขึ้น
– วิบัติ ๔ เป็นความบกพร่องแห่งองค์ประกอบ ไม่อำนวยให้กรรมปรากฏผลดีแต่ปรากฏผลชั่ว
– อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นทางทำความชั่วทางกาย วาจา ใจ
– อบายมุข ๔ เป็นหนทางแห่งความเสื่อมและความพินาศ
ธรรมที่ควรละ
นิโรธ ธรรมที่ควรบรรลุ สุข ๒ คือ ความสุข หมายถึง ความสบายกายและใจ ได้แก่
– สามิสสุข เป็นความสุขที่เกิดจากการกามคุณ
– นิรามิสสุข เป็นความสุขที่ปลอดโปร่งเพราะใจสงบ ตามความเป็นจริง
ธรรมที่ควรบรรลุ
มรรค ธรรมที่ควรเจริญ สติปัฏฐาน ๔ กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ ดรุณธรรม ๖ บุพพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา ๗ กุศลกรรมบถ ๑๐ และมงคล ๓๘ (การประพฤติธรรม การเว้นจากความชั่ว และการเว้นจากการดื่มน้ำเมา)
– สติปัฏฐาน ๔ เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นที่ตั้งแห่งสติให้รู้เท่าทันและเข้าใจ
– กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ เป็นข้อปฏิบัติสำหรับการรักษาวงศ์ตระกูลให้ดำรงอยู่ได้นาน
– ดรุณธรรม ๖ เป็นหนทางสำเร็จและความเจริญก้าวหน้า
– บุพพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา ๗ บุพพนิมิต หมายถึง สิ่งที่เป็นเครื่องหมายให้รู้
– กุศลกรรมบถ ๑๐ หมายถึง ทางทำความดี
– มงคล ๓๘ คือ ธรรมที่นำความเจริญมาให้ผู้ปฏิบัติ
– การประพฤติธรรม (ธมฺมจริยา) เป็นการปฏิบัติตนให้อยู่ในความถูกต้อง
– การงดเว้นจากความชั่ว (อารตี วิรตี ปาปา) การไม่ทำสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองไม่ควรประพฤติปฏิบัติ
– วิธีงดเว้นจากความชั่ว จิตใจจะคอยควบคุมกายให้หรือไม่ให้ทำในสิ่งต่าง ๆ
ธรรมที่ควรเจริญ
๒. พระไตรปิฎก
ความหมายและความสำคัญของพระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่รวมบันทึกคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งหมดไว้ เป็นแม่แบบในการพิจารณาตีความหรืออธิบายความธรรมะข้ออื่น ๆ
โครงสร้างและสาระสังเขปของพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกบันทึกคำสอนไว้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น ๓ หมวดหมู่ ดังนี้
พระวินัยปิฎก เนื้อหาแบ่งเป็น ๕ หมวด ดังนี้
– มหาวิภังค์ เป็นข้อห้ามหรือวินัยของภิกษุสงฆ์ คือ ศีล ๒๒๗ ข้อ
– ภิกขุนีวิภังค์ เป็นข้อห้ามหรือวินัยของภิกษุสงฆ์ คือ ศีล ๓๑๑ ข้อ
– มหาวรรค เป็นพุทธประวัติและพิธีกรรมทางพระวินัย
– จุลวรรค เป็นพิธีกรรมทางพระวินัยและความเป็นมาของภิกษุณีสงฆ์และประวัติการสังคายนา
– ปริวาร เป็นข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย
พระสุตตันตปิฎก รวมพระธรรมเทศนา และ บทประพันธ์ สุภาษิตของพระเถระและพระเถรีไว้ แบ่งออกเป็น ๕ นิกาย ดังนี้
– ทีฆนิกาย มี ๓๔ สูตร
– มัชฌิมนิกาย มี ๑๕๒ สูตร
– สังยุตตนิกาย มี ๗,๗๖๒ สูตร
– อังคุตตรนิกาย มี ๙,๕๕๗ สูตร
– ขุททกนิกาย มี ๑๕ สูตร
พระไตรปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก รวมคำสอนส่วนที่เป็นหลักวิชาการ จึงต้องใช้ปัญญาอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจ มีทั้งหมด ๑๒ เล่ม แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ดังนี้
– ธัมมสังคณี ว่าด้วยการรวมหัวข้อธรรมที่กระจัดกระจายอยู่เข้าเป็นหมวดหมู่
– วิภังค์ ว่าด้วยการแยกแยะหัวข้อธรรมที่สำคัญ
– ธาตุกถา ว่าด้วยการจัดหัวข้อธรรมที่มีความสัมพันธ์ด้วยกัน
– ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ชนิด โดยแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติเกี่ยวกับบุคคล
– ยมก ว่าด้วยการยกหัวข้อธรรมสำคัญมาอธิบาย
– ปัฏฐาน ว่าด้วยการอธิบายปัจจัยหรือเงื่อนไขทางธรรม ๒๔ ประการ
๓. พุทธศาสนสุภาษิต
พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง คำสุภาษิตทางพระพุทธศาสนา มีความหมายลึกซึ้งและให้ข้อคิดคติสอนใจ เช่น
– กมฺมุนา วตฺตตี โลโก: สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
– กลฺยาณการี กลฺยาณํปาปการี จ ปาปกํ: ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
– สุโข ปุญฺสฺส อุจฺจโย: การสั่งสมบุญนำสุขมาให้
– ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ: ผู้บูชาเขาย่อมได้รับการบูชาตอบ ผู้ไหว้เขาย่อมได้รับการไหว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น