เงินทุนถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
ซึ่งมาจากเงินออมภายในประเทศและเงินทุนจากต่างประเทศ
1. การออม
ความหมายและความสำคัญของการออม การออม เป็นการเก็บเงินส่วนที่เหลือจากการใช้จ่าย
เพื่อใช้ในยามจำเป็น ซึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ เงินออมจะเป็นแหล่งที่มาของเงินลงทุน หากเงินออมเพียงพอต่อการลงทุนในประเทศ
จะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
ประเภทของการออม การออมจะแบ่งเป็นการออมภาครัฐและการออมภาคเอกชน ซึ่งระบบการออมมี
2 ประเภท ได้แก่
การออมทางตรง ผู้ออมจะทำการออมผ่านเครื่องมือการออม ที่เสนอโดยผู้ที่มีความต้องการใช้เงินทุน
โดยไม่ผ่านตัวกลางทางการเงิน ซึ่งจะอยู่ในตลาดการเงิน
ตลาดการเงิน แบ่งเป็น 2 ตลาด
ได้แก่
– ตลาดเงิน เป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะสั้น
– ตลาดทุน
เป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะยาว (อายุ 1 ปีขึ้นไป)
การออมทางอ้อม ผู้ออมจะทำการออมผ่านเครื่องมือการออม ที่เสนอโดยตัวกลางทางการเงินในตลาดเงิน
ซึ่งกลุ่มประเภทของการออมทางอ้อมมีดังนี้
– การออมแบบไม่ผูกพัน
จะมีระยะเวลาสัญญาระหว่างผู้ออมและตัวกลางทางการเงินไม่ยาวนาน ผู้ออมจะเรียกคืนเงินออมเมื่อไหร่ก็ได้
ซึ่งเป็นการฝากเงินกับธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน
– การออมแบบผูกพัน
จะมีระยะเวลาสัญญาระหว่างผู้ออมและตัวกลางทางการเงินยาวนาน ถ้ายังไม่ครบสัญญาผู้ออมจะเรียกคืนเงินออมไม่ได้
หรือเสียค่าปรับในการยกเลิกสัญญา ซึ่งการออมประเภทนี้แบ่งได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การออมภาคบังคับ
และ การออมภาคสมัครใจ
ปัจจัยที่กำหนดการออม มีดังนี้
– การวางแผนการใช้เงินในอนาคต
โดยกำหนดระยะเวลาการฝากให้ตรงกับความต้องการใช้เงินในอนาคต
– ความมั่นคงของสถาบันการเงิน
ควรเลือกสถาบันการเงินที่มีความมั่นคง เพื่อความปลอดภัย
– อัตราดอกเบี้ย
ควรเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแต่ละสถาบันการเงิน
– ระยะเวลาการฝากเงิน ต้องไม่มากเกินกว่ากำหนดการใช้เงินในอนาคต
– การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในอนาคต
หากปรับตัวเพิ่มควรฝากระยะสั้นเพื่อรออัตราดอกเบี้ยใหม่ หากปรับตัวลดลง ควรฝากระยะยาวเพื่อใช้อัตราดอกเบี้ยเก่า
– เทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในสถาบันการเงิน
จะทำให้บริการทางการเงินที่รวดเร็วและปลอดภัย
2. การลงทุน
ความหมายและความสำคัญของการลงทุน การลงทุนทางการเงิน คือ การนำเงินไปซื้อหลักทรัพย์ทางการเงิน
โดยได้เงินปันผลหรือดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการใช้จ่ายเพื่อทำให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการในอนาคต
การลงทุนดังกล่าวแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
–
งานก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่
–
เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่ผลิตขึ้นใหม่ รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงาน
–
สินค้าคงคลัง
ประเภทของการลงทุน
–
การลงทุนทางตรง เป็นการลงทุนที่ผู้ลงทุนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการธุรกิจ
ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว
–
การลงทุนทางอ้อม เป็นการลงทุนที่ผู้ลงทุนไม่มีส่วนในการบริหารจัดการธุรกิจ
ผู้ลงทุนจะลงทุนในตลาดการเงิน
รูปแบบของการลงทุน
การลงทุนทางอ้อมที่นิยมกัน แบ่งเป็น
3 ประเภท ดังนี้
– การฝากธนาคาร เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงเรื่องผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง
– การลงทุนพันธบัตรและหุ้นกู้ หรือ ตราสารหนี้ จะได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน
ตราสารหนี้ระยะยาวจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าระยะสั้นและได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคาร
เพราะมีความเสี่ยงกว่าการฝากเงิน
– การลงทุนหุ้นสามัญหรือตราสารทุน ได้เงินปันผลและส่วนต่างจากราคาขายกับราคาที่เราลงทุนซื้อเป็นผลตอบแทน
ซึ่งมีความเสี่ยงกว่าตราสารหนี้ ได้แก่
– การเปลี่ยนแปลงของรายได้
– อัตราดอกเบี้ย
นักลงทุนจะลงทุนมากในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ
– เทคโนโลยี
ซึ่งการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะได้เปรียบคู่แข่ง
– นโยบายของรัฐและเสถียรภาพทางการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะมีการลงทุนมากกว่าการปกครองระบอบเผด็จการ
– ปัจจัยอื่น
เช่น ภัยธรรมชาติ จะมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในประเทศ
3. ปัญหาของการออมและการลงทุนในสังคมไทย
ปัญหาของการออม ได้แก่
– รายได้ต่ำ
– ผลตอบแทนต่ำ
– ความไม่รู้
– เป้าหมายของการออม
ส่วนใหญ่เป็นการออมเพื่อการศึกษา การท่องเที่ยว ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน หรือออมไว้เพื่อซื้อของมากกว่าเก็บออม
สภาวการณ์การออมภาคครัวเรือนของไทย
เมื่อ พ.ศ. 2551 พบว่า อัตราการขยายตัวของค่าใช้จ่ายต่อเดือนของครัวเรือนสูงกว่าอัตราการขยายตัวของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน
ทำให้การออมภาคครัวเรือนลดลง
สาเหตุของการลดลงของเงินออมภาคครัวเรือนของไทย
ใน พ.ศ. 2551 มี 3 ประการ ดังนี้
– การขาดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
– ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
– นโยบายของภาครัฐ
มีการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน ทำให้การใช้จ่ายของประชาชนสูงขึ้น
ปัญหาของการลงทุน ได้แก่
– ผลิตภาพการผลิต
ภาคการเกษตรใช้ปัจจัยการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ และการผลิตมีต้นทุนสูงแต่ผลผลิตต่ำ
– การพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก
– โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่ง
และ โลจิสติกส์ มีต้นทุนที่สูง และใช้พลังงานเชิงพาณิชย์สูง และกระจายไปสู่พื้นที่ชนบทไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง
– การให้สิทธิพิเศษทางการค้า
นักลงทุนที่ลงทุนในไทยผ่านพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนและกติกาการค้าโลก ทำให้สินค้าไทยถูกตีตลาดจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่ราคาถูกกว่า
4. การบริหารจัดการเงินออมและการลงทุนภาคครัวเรือน
วิธีการบริหารจัดการเงินออม ได้แก่
– การประเมินสถานการณ์ของตนเอง เพื่อให้ทราบสถานการณ์ของตนเอง
– การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน
ต้องกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
– การจัดทำแผนการเงิน
จะช่วยให้มีเงินสำรอง
– การปฏิบัติตามแผน
ทำให้ประหยัดเงินและมีเงินออม
– การติดตามวัดผล
เพื่อปรับแผนให้เหมาะสมมากขึ้น
– การปรับแผน
ต้องปรับให้ทันกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของตนเอง
วิธีการบริหารจัดการการลงทุน ได้แก่
– การรวบรวมข้อมูลทางการเงิน
จะทำให้เราเห็นสถานภาพทางการเงินของตนเอง
– การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
โดยมีลักษณะสำคัญ คือ ความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ สามารถวัดเป็นจำนวนเงินได้ชัดเจน และมีกรอบเวลาที่แน่นอน
นโยบายการลงทุน
– การวางแผนปฏิบัติการ
การลงทุนมีความเสี่ยงก่อนลงทุนจึงต้องมีการวางแผนเพื่อลดความเสี่ยง
– การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
– การติดตามและทบทวนการลงทุน
เพื่อรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และรับมือกับสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนได้ทัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น