2. การค้าระหว่างประเทศ
ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ เป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
– การส่งออก
โดยรายได้การส่งออกจะอยู่ในบัญชีดุลการชำระเงินของประเทศ
– การนำเข้า
เป็นการเพิ่มการลงทุนทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
สาเหตุของการค้าและการกระจายทรัพยากรในโลก ได้แก่
ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์
– ความแตกต่างทางทรัพยากรธรรมชาติ
– ความแตกต่างเกี่ยวกับความได้เปรียบในการผลิต
3. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
เพื่อต้องการให้การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาเสมอภาคกัน
หลักการและลักษณะของกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจแบ่งได้ 5 ระดับ
ดังนี้
– เขตการค้าเสรี
เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับต่ำสุด โดยมีข้อตกลงว่าประเทศสมาชิกจะไม่เก็บภาษีศุลกากรกัน
แต่มีอิสระในการใช้นโยบายการค้าของตนกับสินค้าประเทศอื่นนอกกลุ่ม
– สหภาพศุลกากร
มีการยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิก แต่วางนโยบายร่วมกับประเทศสมาชิกเกี่ยวกับภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า
และ ส่งออก ประเทศนอกกลุ่ม
– ตลาดร่วม
มีข้อตกลงร่วมกันเรื่องภาษีและไม่ใช่ภาษีเพื่อกีดกันทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม
– สหภาพเศรษฐกิจ
ประเทศสมาชิกจะดำเนินกิจการในนโยบายทางเศรษฐกิจเดียวกัน
– สหภาพเหนือชาติ
เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นชาติเดียว โดยสหภาพจะกำหนดนโยบายให้ประเทศสมาชิกดำเนินการ
ผลกระทบจากการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
– มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
– ส่งเสริมการออมและการลงทุนภายในประเทศ
– ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น
– มีการแข่งขันกันประกอบการเพิ่มขึ้น
– บรรเทาปัญหาด้านการคลังของรัฐบาล
ปัญหาที่เกิดจากการค้าระหว่างประเทศ
ได้แก่
– การขาดดุลการค้า เกิดจากการส่งออกสินค้าขั้นปฐม
แต่นำเข้าสินค้าที่ราคาสูงกว่า
– การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต
– การเลียนแบบการบริโภค ประเทศที่กำลังพัฒนาจะเลียนแบบประเทศที่พัฒนาแล้ว
ตัวอย่างกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน
ก่อตั้งวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ในปัจจุบันมีสมาชิก
10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย
บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
– ส่งเสริมความร่วมมือทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
– ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง
– ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา
เป็นการร่วมมือทางการค้าเมื่อ พ.ศ. 2535 มี 10 ประเทศ
ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ลาว
พม่า และกัมพูชา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
– เพิ่มปริมาณการค้า
– สร้างแรงดึงดูดการลงทุน
– เป็นฐานการผลิตที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก หรือเอเปก ก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.
2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ในออสเตรเลีย ซึ่งความยืดเยื้อของการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย
ทำให้ประเทศสหรัฐ อเมริกาและออสเตรเลียต้องพึ่งพาการค้ากัน และต้องการให้เจรจาการค้ารอบอุรุกวัยประสบผลโดยเร็ว
เพื่อให้การค้ามีการเปิดเสรีจึงจัดตั้งเอเปกขึ้น ซึ่งมีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัว นิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ ไทย ไต้หวัน และเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
– พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าระดับพหุภาคี
– สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
– ลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้า รวมถึงการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกเสรีและสอดคล้องกับกฎขององค์การการค้าโลก
4. การแข่งขันทางการค้า
ความหมายและความสำคัญของการแข่งขันทางการค้า
– การแข่งขันทางการค้า
หมายถึง การแข่งขันในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ หรือผู้จำหน่ายสินค้า โดยนโยบายการแข่งขันทางการค้า
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมและลดพฤติกรรมที่เป็นการจำกัดการแข่งขัน
ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศรูปแบบแรกที่แตกต่างจากการเจรจาการค้า
การแข่งขันทางการค้าในประเทศ ปัจจุบันการแข่งขันรุนแรงขึ้น และมีการผูกขาดการค้า
และมีการกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งพฤติกรรมมี 4 ลักษณะ ได้แก่
การใช้อำนาจเหนือตลาด เพื่อกลั่นแกล้งผู้ประกอบการรายอื่น
ได้แก่
– กำหนดราคาสินค้าให้ต่ำกว่าต้นทุนเพื่อกำจัดคู่แข่ง
– ห้ามขายสินค้าของคู่แข่ง
– เลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม
– การกำหนดราคาขายปลีก
– การขายพ่วง จะสร้างผลกระทบกับตลาดสินค้าอีกชนิดหนึ่ง
การตกลงร่วมกัน เพื่อสร้างอำนาจผูกขาด
การรวมธุรกิจ เป็นการควบคุมโครงสร้างตลาด
ทำได้หากไม่ทำให้เกิดการผูกขาดในตลาด หากเกิดการผูกขาด รัฐจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการรวมธุรกิจ
การค้าที่ไม่เป็นธรรม เกิดจากความแตกต่างของอำนาจต่อรองนี้เป็นการสร้างเงื่อนไขในการซื้อและขายสินค้าที่ไม่เป็นธรรม
การแข่งขันทางการค้าต่างประเทศ
นโยบายการแข่งขันทางการค้า ประเทศที่มีพฤติกรรมจำกัดหรือกีดกันการแข่งขันทางการค้า
แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
การใช้อำนาจเหนือตลาด
– สหรัฐอเมริกา
ใช้อำนาจผูกขาดทางการค้า
– แคนาดา
จำกัดกำไรของคู่แข่งในตลาดที่ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ควบคุมธุรกิจเพื่อกีดกันคู่แข่งรายใหม่
ออกสินค้าใหม่เพื่อทำลายคู่แข่ง ผลิตสินค้าที่ไม่สอดคล้องกับการใช้งานสินค้าอื่น และกำหนดราคาที่ต่ำกว่าทุน
– เยอรมนี
กำหนดเงื่อนไขด้านราคา ใช้โครงสร้างพื้นฐานของตน ซึ่งกระทบต่อภาวะแข่งขัน และจำกัดการแข่งขันในตลาดผู้ผลิตสินค้าหรือผู้จำหน่ายสินค้า
– สหราชอาณาจักร
กำหนดราคาไม่เป็นธรรม จำกัดปริมาณการผลิต จำกัดตลาดหรือเทคโนโลยีที่มีผลเสียต่อผู้บริโภค
และเลือกปฏิบัติ
– กลุ่มสหภาพยุโรป กำหนดราคาไม่เป็นธรรม จำกัดปริมาณการผลิต
จำกัดตลาดหรือเทคโนโลยีที่มีผลเสียต่อผู้บริโภค และเลือกปฏิบัติ และกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เกี่ยวกับธุรกรรมตามสัญญา
– เกาหลีใต้
กำหนดราคาสินค้า ควบคุมการซื้อขาย แทรกแซงการประกอบธุรกิจ กีดกัน ผู้ประกอบการรายใหม่
และลดการแข่งขันในตลาดอย่างรุนแรงจนมีผลทางลบต่อผู้บริโภค
การตกลงร่วมกัน ประเทศต่าง
ๆ มีการตกลงร่วมกันเพื่อลดการแข่งขันทางการค้า เช่น
– สหรัฐอเมริกา มีสัญญาการรวมตัวกัน เพื่อจำกัดการค้าของผู้ประกอบการ
– แคนาดา
มีการตกลงกันระหว่างผู้ประกอบการรายอื่นเพื่อจำกัดปัจจัยในการขนส่ง ผลิต จำหน่าย และเก็บรักษาสินค้า
ปริมาณการผลิตสินค้าเพื่อให้สินค้าราคาสูงขึ้น
– เยอรมนี
มีการตกลงกันระหว่างผู้ประกอบการเพื่อบิดเบือนหรือจำกัดการแข่งขันในตลาด
– สหราชอาณาจักร
มีการกำหนดราคาหรือเงื่อนไขอื่น
– กลุ่มสหภาพยุโรป
มีการกำหนดราคาหรือเงื่อนไขอื่น
– เกาหลีใต้
มีการกำหนดราคาสินค้ากำหนดเงื่อนไขการซื้อขาย
การค้าที่ไม่เป็นธรรม
พฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมของประเทศต่าง ๆ มีดังนี้
– สหรัฐอเมริกา
ตั้งราคาที่แตกต่างกันระหว่างลูกค้าบางราย
– แคนาดา
มีการเลือกปฏิบัติ
– เยอรมนี
มีการให้สัญญาในการเอื้อผลประโยชน์พิเศษให้กับผู้ประกอบการรายอื่น
– สหราชอาณาจักร
มีการกำหนดราคาหรือเงื่อนไขอื่น
– กลุ่มสหภาพยุโรป
มีการกำหนดราคาหรือเงื่อนไขอื่น
– เกาหลีใต้
มีการเลือกปฏิบัติกับคู่ค้าบางราย
นโยบายการค้าระหว่างประเทศ แบ่งเป็น
2 นโยบาย คือ
นโยบายการค้าเสรี
ประเทศที่ดำเนินนโยบายการค้าเสรีต้องปฏิบัติดังนี้
– ผลิตเฉพาะสินค้าที่ใช้ปัจจัยการผลิตจากในประเทศ
– เก็บภาษีต่ำมาก
– เก็บอัตราภาษีจากสินค้าเข้าในอัตราเดียวกัน
– ไม่กำหนดข้อจำกัดทางการค้า
มาตรการกีดกันทางการค้าในการดำเนินนโยบายการค้าเสรี
เช่น
– มาตรการด้านสุขอนามัย
เป็นมาตรการที่ปกป้องชีวิตและสุขภาพ
– มาตรการด้านมาตรฐานสินค้า เป็นการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางเทคนิค
– มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
เป็นการกำหนดมาตรฐานการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม
นโยบายการค้าคุ้มกัน
เป็นนโยบายคุ้มกันตลาดสินค้าในประเทศ โดยปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
– ผลิตสินค้าหลายชนิด
เพื่อลดการนำเข้า
– ใช้นโยบายการค้าคุ้มกัน
– กำหนดข้อจำกัดทางการค้า
มาตรการกีดกันทางการค้าที่ใช้ดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน
เช่น
– ตั้งกำแพงภาษี
2 ลักษณะ คือ พิกัดอัตราเดียว เป็นการตั้งภาษีศุลกากรอัตราเดียว
และพิกัดอัตราซ้อนที่เป็นการตั้งภาษีศุลกากรไม่เท่ากันตามข้อตกลง
– กำหนดโควตา
โดยกำหนดปริมาณ จำนวน หรือมูลค่าสินค้านำเข้า โดยทำสินค้าราคาต่อหน่วยสูงขึ้น
– ให้การอุดหนุน
เป็นการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ โดยให้สิทธิพิเศษต่างๆ
– การทุ่มตลาด
เป็นการขายสินค้าที่ราคาต่ำกว่าในประเทศนั้น และประเทศที่ใช้นโยบายนี้อาจถูกตอบโต้จากประเทศคู่ค้าได้
– ข้อตกลงการค้าเสรี
เป็นสนธิสัญญาของกลุ่มประเทศที่ทำเพื่อจัดตั้งเป็นเขตการค้าเสรี
ผลกระทบของการแข่งขันทางการค้า การแข่งขันทางการค้าในประเทศและต่างประเทศมีผลกระทบดังนี้
– ด้านคุณภาพสินค้า
ผู้ผลิตต้องลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงโดยที่รักษาระดับคุณภาพของสินค้าและบริการได้เท่าเดิมหรือสูงขึ้น
– ด้านปริมาณการผลิต
มีการผลิตในปริมาณมากขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง และต้องมีตลาดที่รองรับผลผลิตส่วนเกิน
– ด้านราคาสินค้า
ผู้ผลิตที่ส่งสินค้าออกมีรายได้เพิ่มขึ้นและสินค้าที่ผลิตได้ราคาที่เหมาะสม ทำให้มีการจ้างงาน
และรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น โดยสินค้านำเข้าอุตสาหกรรมจะกระตุ้นให้การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น