ทศพิธราชธรรม" มี 10 ประการคือ
1. ทาน คือการให้ หมายถึงการสละทรัพย์ สิ่งของ เพื่อช่วยเหลือคนที่ด้อยและอ่อนแอกว่า
2. ศีล คือการตั้งอยู่ในศีล หมายถึง มีความประพฤติดีงาม เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป
3. ปริจาคะ คือบริจาค หมายถึงการเสียสละความสุขสำราญของตนเพื่อประโยชน์สุขของหมู่คณะ
4. อาชชวะ คือความซื่อตรง หมายถึง มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่กลับกลอก
5. มัททวะ คือความอ่อนโยน หมายถึง มีกิริยาสุภาพ มีสัมมาคารวะ วาจาอ่อนหวาน มีความนุ่มนวล ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หยาบคาย
6. ตบะ คือความเพียร หมายถึง การเพียรพยายามไม่ให้ความมัวเมาเข้าครอบงำจิตใจ ไม่ลุ่มหลงกับอบายมุขและสิ่งชั่วร้าย ไม่หมกมุ่นกับความสุขสำราญ
7. อักโกธะ คือความไม่โกรธ หมายถึง มีจิตใจมั่นคง มีความสุขุม เยือกเย็น อดกลั้น ไม่แสดงความโกรธหรือความไม่พอใจให้ปรากฏ
8. อวิหิงสา คือความไม่เบียดเบียน หมายถึง ไม่กดขี่ข่มเหง กลั่นแกล้งรังแกคนอื่น ไม่หลงในอำนาจ ทำอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สินผู้อื่นตามอำเภอใจ
9. ขันติ คือความอดทน หมายถึงการอดทนต่อสิ่งทั้งปวง สามารถอดทนต่องานหนัก ความยากลำบาก ทั้งอดทน อดกลั้นต่อคำติฉินนินทา
10. อวิโรธนะ คือความเที่ยงธรรม หมายถึงไม่ประพฤติผิด ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความดีงาม ไม่หวั่นไหวในเรื่องดีเรื่องร้าย
อริยวัฑฒิ 5
อารวัฒิ 5 หมายถึง หลักปฏิบัติที่นำไปสู่ความเจริญงอกงาม หรือความเป็นอารยชน หรือความเป็นคนดีในอุดมคติ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 5 ประการ ดังนี้
ศรัทธา (งอกงามด้วยศรัทธา) หมายถึง มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยปัญญาและเหตุผล
ศีล (งอกงามด้วยศีล) หมายถึง รักษากายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ ในทางปฏิบัติคือการรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ของชาวพุทธทั่วไป
สุตะ (งอกงามด้วยสุตะ) หมายถึงความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง หรือการศึกษาหาความรู้ด้วยการฟังซึ่งรวมถึงการอ่านหนังสือและใช้สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการแสดงหาความรู้
จาคะ (งอกงามด้วยจาคะ) หมายถึง รู้จักเสียสละ แบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
ปัญญา (งอกงามด้วยปัญญา) หมายถึง มีความรู้อย่างกว้างขวาง รู้ชัดเจน และรู้จริง เป็นความรู้ทั้งในวิชาชีพ วิชาสามัญ หรือรู้เท่าทันโลก
ชาดกเรื่องราวที่เล่าถึงอดีตของพระพุทธเจ้า ได้แก่
– นันทิวิสาลชาดก พระพุทธเจ้าเล่าชาดกเรื่องนี้เพราะ เกิดจากพูดเสียดแทงให้เจ็บใจของพระภิกษุฉัพพัคคีย์ ข้อคิดคือ คนที่พูดหยาบย่อมทำให้ตนเองเดือดร้อน คนที่พูดจาอ่อนหวานย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ หรือพูดดีเป็นศรีเเก่ปาก
– สุวัณณหังสชาดก ข้อคิดคือ บุคคลควรพอใจในสิ่งที่ตนมี ยินดีในสิ่งที่ตนได้ บุคคลไม่ควรโลภเกินประมาณ เพราะโลภมากมักลาภหาย
พุทธสาวก หมายถึง พุทธบริษัท ๔ ที่เป็นพระภิกษุและอุบาสกที่เป็นพระอริยบุคคลฝ่ายชายรุ่นทันเห็นพระพุทธเจ้าตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
พุทธสาวกทางพุทธศาสนา ได้แก่
– พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่น เป็นผู้ที่สันโดษและชอบอยู่ในที่สงัด เป็นผู้มีประสบการณ์มากในชีวิต
พุทธสาวก
– พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นผู้ที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ เป็นผู้ที่หนักแน่นในเหตุผล เป็นผู้ไม่ถือตน มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง
พุทธสาวิกา หมายถึง พุทธบริษัท ๔ ที่เป็นภิกษุณีและอุบาสิกาที่เป็นพระอริยบุคคลฝ่ายหญิงรุ่นทันเห็นพระพุทธเจ้าตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ได้แก่
– พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี แม้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเป็นภิกษุณีก็ยังไม่ย่อท้อ จนในที่สุดก็ได้บวชเป็นภิกษุณี ความตั้งใจปฏิบัติธรรมจนสำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์ มีประสบการณ์ในชีวิตมาก
พุทธสาวิกา
– พระเขมาเถรี เป็นผู้มีเหตุผล เข้าใจพระธรรมเทศนาของพระพุทธศาสนาได้อย่างรวดเร็ว ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นภิกษุณีที่เลิศในทางปัญญา
ชาวพุทธตัวอย่าง คือ บุคคลรุ่นหลังที่เกิดไม่ทันได้เห็นพระพุทธเจ้า แต่ท่านเหล่านั้นใช้ชีวิตเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติหน้าที่ชาวพุทธได้เป็นอย่างดี ได้แก่
– หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงมีความรอบรู้ในหลายด้าน เป็นผู้ที่เอาใจใส่และเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
– ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนจนมีผลการเรียนเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก เป็นผู้ที่ทรงคุณธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ภารกิจหลักซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกคือการเผยแผ่หลักธรรมและปกป้องพระพุทธศาสนา
ศาสนพิธีที่สำคัญจะเริ่มต้นโดยจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยหลังจากนั้นพระสงฆ์จะอารธนาศีลเเละปิดท้ายด้วยการกรวดน้ำเสมอ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ประวัติวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
วันมาฆบูชา เป็นวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าประชุมสาวกครั้งแรก ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่
– เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓
– มีพระสงฆ์สาวกเข้าประชุมโดยไม่ได้นัดหมาย ๑,๒๕๐ รูป
– พระสงฆ์สาวกล้วนเป็นพระอรหันต์
– เป็นพระสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าอุปสมบทให้โดยตรง
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน แต่เกิดต่างปีกันในช่วงเวลา ๘๐ ปีเเละเป็นวันสำคัญของโลกจากองค์กรสหประชาชาติ
วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
วันธรรมสวนะ คือ วันพระ ในเดือนหนึ่ง มี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ สมัยพุทธกาลเรียกวันนี้ว่า วันอุโบสถ
เทศกาลเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์ประจำวัดเป็นเวลา ๓ เดือนตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เป็นช่วงหน้าฝน เพราะสมัยพุทธกาล มีพระสงฆ์เดินทางหน้าฝนเหยียบต้นข้าวและสัตว์เล็กในพื้นที่ของชาวบ้าน เสียหาย
เทศกาลออกพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์จำพรรษาครบ ๓ เดือน มีการทำพิธีปวารณาส่วนพุทธศาสนิกชนจะทำบุญรักษาศีล มีประเพณีการตักบาตรเทโวในวันเทโวโรหณะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลกหลังขึ้นไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชนชาวไทยกำหนดให้มีการตักบาตรครั้งใหญ่ในวันนี้
การปฏิบัติตนในการฟังพระธรรมเทศนา ควรทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน
การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการแต่งกายไปประกอบศาสนพิธีที่วัด ให้ยึดหลักความสุภาพเรียบร้อย และสะอาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น