วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ตะลุยประวัติศาสตร์เอเชีย ม สอง



พัฒนาการของภูมิภาคต่าง ๆ ในเอเชีย

1. เอเชียตะวันออก
1.1 ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์
- ตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น จึงเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานและตั้งชุมชนกสิกรรม
- แม่น้ำหวางเหอกับฉางเจียงพื้นที่เหมาะแก่การกสิกรรมแล้ว
- เหมาะสำหรับเป็นเมืองท่าค้าขายด้วย เพราะเป็นบริเวณที่ติดทะเลเช่น ช่างไห่หรือพวกเราจะรู้จักในชื่อเซี่ยงไฮ้
- พื้นที่ราบจะอยู่ที่ภาคตะวันออกคนอยู่เยอะ ส่วนที่เหลือเป็นที่ราบสูงและภูเขา
1.2 พัฒนาการของเอเชียตะวันออก
- เกิดขึ้นครั้งแรกที่แม่น้ำหวางเหอ
แต่ละเมืองมีอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ต่อมาได้รวมตัวเป็นแบบ นครรัฐ ภายใต้กษัตริย์ในราชวงศ์ชางและโจว แต่ละรัฐต่างทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน
 - แนวคิดของขงจื๊อ เป็นแนวคิดที่มี อิทธิพลต่อชาวเอเชียตะวันออกมาจนถึงปัจจุบัน
-แผ่นดินมีความเป็นปึกแผ่นในสมัยราชวงศ์ฉิน แล้วปกครองประเทศแบบจักรวรรดิ โดยมีจักรพรรดิเป็นผู้นำ
- สมัยราชวงศ์ฮั่น มีเส้นทางสายไหม ทำาให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและความรู้ ต่อกัน และเป็นการเปิดโอกาสให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่จีน และส่งผ่านไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี

ความเจริญและความเสื่อมแห่งราชวงศ์ต่าง ๆ ของจีน รวมถึง ความมีเสถียรภาพของผู้ปกครองขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ 

 - ความสามารถของจักรพรรดิและคณะขุนนางที่ต้องปกป้อง ดินแดนจากการรุกรานของชนเผ่าเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ทางตอนเหนือที่ ต้องการยึดครองดินแดนภาคกลางที่มีความอุดมสมบรูณ์มากกว่าทุ่ง หญ้ากึ่งทะเลทรายของตน  เพราะที่ชนเผ่าเร่ร่อนอยู่เป็นทุ่งหญ้ากับทะเลทรายไม่ค่อยเหมาะกับการเพราะปลูกเลยยกทัพตีจีนแต่ชนเผ่าพวกนี้รบทางม้าเก่งมากๆนะ ที่ดังๆก็พวกมองโกลกับแมนจูละ

 - ความสามารถในการปกป้องของชาวจีนจากภัยธรรมชาติ ทั้ง อุทกภัยและวาตภัยที่เกิดขึ้นทุกปี เพราะว่าแม่น้ำหวงเหอชอบท่วมละ ใครแก้ปัญหาได้นี่ฮีโร่มากๆเลยนะ

- ราชวงศ์สุดท้ายของจีนคือราชวงศ์ชิง เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐใน ค.ศ. 1911
(ถ้างงนะสาธารณรัฐผู้นำเป็นประธานาธิบดีไม่ใช่จักรพรรดิหรือฮ่องเต้อีกต่อไปละ)
แต่การปกครองในระบอบดังกล่าวยัง ไม่เสถียรภาพ จึงเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น ระบอบสังคมนิยมใน ค.ศ. 1949 ซึ่งก่อนเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดสงครามการเมืองด้วยนะ
- จีนเริ่มมีนโยบายเป็นแบบเสรีมากขึ้นหรือที่อยู่จักกันในนโยบายหนึ่งประเทศสองระบบ ถึงแม้จีนจะเป็นคอมมิวนิสต์แต่ก็แค่การปกครองนะ เศรษฐกิจเริ่มเป็นแบบเสรี มีเมืองที่นักเรียนน่าจะรู้จักอย่าเซินเจิ้น 555
- ผู้นำคนปัจจุบันจีนชื่อสีจิ้นผิง
ประเทศญี่ปุ่น
-ประเทศญี่ปุ่น ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากจีนมาปรับใช้ในประเทศ
-ในสมัยเมจิญี่ปุ่นติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตก โดยนำความรู้และวิทยาการมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม และมีอำนาจทางการทหารจนก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้
- และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นพ่ายแพ้ กลายเป็นประเทศที่ถูกกำหนดไม่ให้มีกองกำลังทหาร 
ถ้าคิมจองอึนบุกกองกำลังพวกนี้จะไม่ทนจะตอบโต้เกาหลีเหนือด้วยทุกสิ่งที่เรามีถล่มมันให้ทะลุอย่างไม่หยุดหยั้ง          หลังสงครามรัฐบาลญี่ปุ่นฟื้นฟูและพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า จนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีเศรษฐกิจมั่นคงที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
2. เอเชียใต้

2.1 ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์
ทิศเหนือติดต่อกับประเทศจีน ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศพม่าและจดอ่าวเบงกอล ทิศใต้จดมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศอิหร่าน และจดทะเลอาหรับ ประเทศในเอเชียใต้ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา และมัลดีฟส์
-ข้อควรจำนะเด็กๆ  เอเชียใต้ มีลักษณะเป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ในมหาสมุทร อินเดีย ขนาบด้วยเทือกเขาสูงทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ด้าน เหนือ และที่สูง ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งทำให้เอเชียใต้แยก จากส่วนอื่น ๆ ของเอเชียอย่างชัดเจน  ทางเหนือเป็นเทือกเขาหิมาลัย
- เมืองโบราณที่สำคัญ คือ เมืองฮารัปปา และเมืองโมเฮนโจดาโร เป็นต้นกำเนิดอารยธรรมสินธุ

2.2   พัฒนาการของเอเชียใต้
-          เมืองฮารัปปา และเมืองโมเฮนโจดาโร สร้างโดยพวกดราวิเดียนลักษณะ ซากเมืองที่แสดงให้เห็นการวางผังเมืองและระบบสาธารณูปโภค เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเจริญของชาวดราวิเดียน และการค้าขายกับโลกภายนอก กับ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
-          ต่อมาชาวอารยันได้ยกกองทัพเข้ามายึดครองดินแดนนี้ และไล่พวกดราวิเดียนไปและสร้างอารยธรรมความเจริญรุ่งเรือง อารยธรรมที่สำคัญ คือ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู รวมไปถึงระบบวรรณะ 
-          ราชวงศ์เมารยะเป็นราชวงศ์แรกที่เริ่มปกครองเป็นจักรวรรดิในอินเดีย จักรพรรดิองค์ที่ดังก็พระเจ้าอโศกมหาราชไงละ
-          ในสมัยราชวงศ์คุปตะได้รวมอินเดียเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นสมัยที่อินเดียรุ่งเรื่องที่สุดด้วยนะ
-          อินเดียมีความเจริญอย่างมากในสมัยจักรวรรดิมุคัล เพราะมีการติดต่อค้าขายกับชาติต่าง ๆ และยังมีการท าอุตสาหกรรมสิ่งทอจากฝ้าย ที่เป็นพืช เศรษฐกิจที่สำคัญมาจนถึงปัจจุบัน
-          มีเมืองที่สำคัญอีก 2 เมือง ได้แก่ เมืองติดชายฝั่งทะเลโกลกาตา ตั้งอยู่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา และเมืองมุมไบเป็นเมืองท่าด้านทะเลอาหรับ
-          อินเดียมีทรัพยากรและวัตถุดิบที่เป็นที่ต้องการของชาวยุโรป อังกฤษจึงมาค้าขายบริเวณนี้ และต่อมา ก็ยึดอินเดียเป็นอาณานิคมเพื่อผูกขาดแหล่งวัตถุดิบ สำหรับป้อนโรงงานอุตสาหกรรมของตน   สินค้าที่อังกฤษต้องการ เช่น ฝ้าย ไหมดิบ ชา ตอนแรกมาดีๆตอนหลังยึดเลยนิสัยดีจริงๆ
-          อังกฤษให้เอกราชแก่อินเดียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อินเดียจึงเกิดการแย่งชิงอำนาจของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูกับผู้นับถือศาสนาอิสลาม ต่อมาได้แยกตัวไปตั้งประเทศปากีสถานทางตอนเหนือของอินเดีย และเกิดความขัดแย้งจนแตกไปก่อตั้งประเทศใหม่ คือ บังกลาเทศ
ประเทศศรีลังกาเป็นเกาะที่อยู่ทางตอนใต้ของทวีป หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษก็เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวทมิฬกับชาวสิงหล ปัจจุบันนะ รัฐบาลสิงหลสามารถปราบกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬได้สำเร็จ
เอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหนาแน่นของประชากร ทรัพยากรต่าง ๆ จึงไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้รัฐบาลยากต่อการปกครองและดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีได้



3. เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

3.1 ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์
ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีอีกฉายาหนึ่งคือดินแดนทะเลทั้ง 5 มี ทะเลดำ ทะเลสาบแคสเปียน ทะเลอาหรับ ทะเลแดง เมดิเตอร์เรเนียน อันนี้สำคัญนะ
ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนบริเวณประเทศซีเรีย และมีแม่น้ำ 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำยูเฟรทีส และแม่น้ำไทกริส มีอาณาเขตต่อเนื่องกันเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญที่เรียกว่า เมโสโปเตเมียความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำไทกริสและยูเฟรทีสทำให้เกิดการ ตั้งถิ่นฐานและขยายตัวของชุมชน จึงต้องมีระบบจัดการน้ำและแรงงาน
3.2 พัฒนาการของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
-          ชนเผ่าแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ คือ ชาวสุเมเรียน  ทำอักษรแรกของโลก
-          เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาที่สำคัญของโลกถึง 3 ศาสนา ได้แก่ ศาสนายูดาห์ คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม
-          ชาวอาหรับได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมกรีก-โรมันในด้านปรัชญา และวิทยาศาสตร์ มีการแปลตำราจากภาษากรีกเป็นภาษาอาหรับ 
-          ชาวอาหรับได้รับความรู้ทางคณิตศาสตร์จากอินเดีย ทำให้วิทยาการ ความรู้ของ  อารยธรรมอิสลามเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์ และสถาปัตยกรรม
-          อารยธรรมอิสลามเจริญก้าวหน้าในแถบนี้ แต่เมื่อเกิดสงครามครูเสดกับพวกคริสเตียน ทำให้จักรวรรดิอิสลามเสื่อมอำนาจลง
-          จนกระทั่งมีการขุดพบบ่อน้ำมันใน ค.ศ. 1907 ในที่ราบสูงอิหร่าน อ่าวเปอร์เซีย และคาบสมุทรอาหรับ ทำให้ชาติตะวันตกเข้ามาขยายอิทธิพลครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
-          กลุ่มประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ได้รวมตัวก่อตั้งองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปก (Organization of Petroleum Exporting Countries–OPEC) ใน ค.ศ. 1960 และองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอาหรับหรือโอเอเปก (Organization of Arab Petroleum Exporting Countries–OAPEC) ใน ค.ศ. 1968 โดยใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองผลประโยชน์ในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีผู้คนหลายเชื้อชาติและศาสนาทำให้เกิดความขัดแย้งในภูมิภาคขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งเรื่องการยึดครองดินแดนระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์กลายเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนถึงทุกวันนี้
4. เอเชียกลาง
4.1 ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์
เอเชียกลาง ทิศเหนือติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศจีน ทิศใต้ติดต่อกับประเทศอัฟกานิสถาน อิหร่าน และตุรกี ทิศตะวันตกจดทะเลดำ
ประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย และอาร์เมเนีย  ข้อควรจำ ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกลางจะลงท้ายด้วยสถาน
มีทะเลแคสเปียนเป็นศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยพื้นที่ 2 ลักษณะ   พื้นที่ที่ราบสูงและเทือกเขาทางตะวันตกของทะเลแคสเปียน   พื้นที่ทุ่งหญ้าแห้งแล้งทางตะวันออกของทะเลแคสเปียน  ประชากรในเอเชียกลางจึงสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มซึ่งมีวิถีการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน ได้แก่ สังเกตว่าใช้ทะเลสาบแคสเปียนแบ่งละ
1. กลุ่มที่อยู่ทางตะวันตกของทะเลแคสเปียน ได้แก่ ประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน ประชากรส่วน ใหญ่ประกอบอาชีพเพาะปลูกในเขตที่ราบเชิงเขาและลุ่มน้ำ 
2. กลุ่มที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลแคสเปียน ได้แก่ ประเทศคาซัคสถาน    คีร์กีซสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ เร่ร่อน  อันนี้ควรจำมากๆเพราะอยู่ในเอเชียของเรา
4.2 พัฒนาการของเอเชียกลาง
เป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างประเทศจีน เอเชียตะวันตก เฉียงใต้ และทวีปยุโรป   เป็นเส้นทางผ่านของเส้นทางสายไหมซึ่งเป็นเส้นทาง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 จักรวรรดิอาหรับเข้ามาปกครอง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ราชวงศ์เซลจูกของชาวเติร์ก ได้ขยายอาณาเขตกลายเป็นจักรวรรดิ
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 พวกมองโกลเข้าที่เลี้ยงสัตว์เร่ร่อนมายึดดินแดนเอเชียกลางภายใต้การนำของเจงกิสข่าน
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 กษัตริย์ผู้หนึ่งอ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากเจงกิส ข่าน นามว่า ติมูร์ ได้ขยายอาณาเขตออกไปในทวีปต่าง ๆ อย่างกว้างขวางเลียนแบบเจงกิส ข่าน ติมูร์คนนี้นักเรียนจำไว้ว่าคนนี้ทำให้เอเชียกลางเป็นยุคทองแต่ก็โหดมากเช่นกัน โหดยังไงไปหาข้อมูลนะ
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 จักรวรรดิเปอร์เซียและจักรวรรดิออตโตเข้ามาปกครองบริเวณเอเชียกลางทางตะวันตกของทะเลแคสเปียน และเอเชียกลางได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18
สหภาพโซเวียตล่มสลาย ดินแดนแถบเอเชียกลางนี้จึงได้แยกเป็นประเทศอิสระ ควรจำมากๆละ
ด้านเศรษฐกิจ เมื่อแยกตัวเป็นอิสระ จึงเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม แต่ยังขาดแคลนเงินทุนและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบกับเป็นภูมิภาคที่ห่างไกลจากศูนย์กลางเศรษฐกิจ จึงทำให้ไม่เจริญเท่าที่ควร


แหล่งอารยธรรมโบราณในเอเชีย

1. อารยธรรมจีน
1.1 อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ร่องรอยอารยธรรมจีนเริ่มปรากฏขึ้นในยุคหินเก่า เมื่อมีการขุดค้นพบโครงกระดูก มนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งมีอายุ 500,000–300,000 ปีมาแล้ว พวกนี้รู้จักใช้ไฟละ
แหล่งโบราณคดี 2 แหล่ง ซึ่งมีลักษณะเด่นมาก คือ
1. วัฒนธรรมหยางเชา (Yangshao culture) ขุดพบซากโบราณคดีที่บริเวณมณฑลเหอหนาน มีการเพราะปลูกเลี้ยสัตว์
2. วัฒนธรรมหลงชาน (Longshan culture) ขุดพบซากโบราณคดีที่บริเวณมณฑลชานตง จนถึงเมืองหางโจว มีการตั้งแหล่งชุมชน
1.2 อารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์
1.2.1 ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของการก่อตัวเป็นรัฐ
ราชวงศ์แรกในยุคประวัติศาสตร์ของจีน คือ ชางมีการประดิษฐ์ตัวอักษรใช้ขึ้นครั้งแรก หรือเราจะรู้จักกันในนามจารึกกระดองเต่า
ราชวงศ์โจว อ้างอาณัติสวรรค์ ปกครองแบบนครรัฐ มีการให้ที่ดินให้แก่ขุนนางต่างๆมากมาย
อาณัติสวรรค์คือ ข้ออ้างที่ราชวงศ์ใหม่ใช้เป็นการล้มล้างราชวงศ์เก่า เช่น ฝนตกน้ำท่วมเพราะปลูกไม่ได้ต้องมีผู้นำคนใหม่เข้ามาปกครอง 555 เอาจริงๆอ้างแบบนี้กันเยอะนะ
1.2.2 พัฒนาการด้านอารยธรรมและความเจริญของจีน
1. ศาสนาและความเชื่อ ในสมัยราชวงศ์ชาง ชาวจีนนับถือเทพเจ้าและเชื่อเรื่องวิญญาณ จึงมีการเคารพบูชาบรรพบุรุษ
ในช่วงที่เกิดความแตกแยกสมัยราชวงศ์โจว ทำให้เกิดนักปรัชญามากมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมและการเมือง มีแนวคิด 3 ลัทธิ ได้แก่

ลัทธิขงจื๊อ
-บุคคลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อสังคมที่ ตนเองอยู่ให้ดีที่สุดตามหน้าที่ของตน 
-ปลูกฝังคุณธรรมและ แบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั่วไป ประกอบด้วยสิ่งที่เกิดจากจิตสำนึก ภายในของคนซึ่งต้องมีการปลูกฝัง เช่น ความซื่อสัตย์ ความกตัญญูกตเวที  ความสุภาพ มารยาทที่ถูกต้อง 
-พิธีกรรมและการบูชาเป็นการแสดงออก ที่ดีของมนุษย์
ลัทธิเต๋า
-ส่วนใหญ่จะยึดหลักที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ
ลัทธิฝ่าเจียหรือนิติธรรมนิยม
- อันนี้จะเน้นและให้ความสำคัญกับหมายละ
ภายหลังพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แนวคิดดั้งเดิมของชาวจีน โดย ลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าก็ยังคงมีอิทธพิลต่อความคิดและ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวจีนจนถึงปัจจุบัน
2. ศิลปะและนวัตกรรม
- สมัยราชวงศ์ฉิน เทคโนโลยีการก่อสร้างของจีนก้าวหน้ามาก มีการ สร้างพระราชวัง และสุสานของจักรพรรดิจิ๋นซี 
 - สมัยราชวงศ์ฮั่น มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น แสดงให้เห็น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การประดิษฐ์กระดาษ เครื่อง ตรวจวัดตำแหน่งดวงดาว เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหว และนาฬิกาน้ำ
- ศิลปะเน้นความมีชีวิตชีวาและรายละเอียด เป็นจุดเริ่มต้น ของการแสดงออกทางอารมณ์ของศิลปะจีน                    ชาวจีนนิยมเขียนภาพตามหลุมศพเป็นรูปคนเพื่อเล่า เหตุการณ์   นอกจากนี้ยังมีการเขียนภาพบรรยายเรื่องราวพระสูตรทาง พระพุทธศาสนา 
- เครื่องปั้นดินเผาได้รับการพัฒนาให้มีลวดลายสวยงามและ คงทนมากขึ้น
3. ตัวอักษรและวรรณกรรม
- อักษรจีนเป็นต้นกำเนิดของอักษรภาพ พัฒนามาจากการวาดภาพเพื่อบันทึกเรื่องราวของมนุษย์สมัยโบราณ
- ในสมัยราชวงศ์ชางและราชวงศ์โจวนิยมสลักคำทำนายบนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ เรียกว่า อักษรกระดองเต่า
-จักรพรรดิจิ๋นซีรวมประเทศเป็นปึกแผ่นได้แล้ว จึงปรับให้ใช้อักษรจีนรูปแบบเดียวกันทั้งหมดกลายเป็นพื้นฐานของตัวอักษรจีนในเวลาต่อมา                                                                                                             -การเขียนอักษรจีนด้วยพู่กันยังกลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ของศิลปะที่เรียกว่า ศิลปะการเขียนพู่กันจีน
วรรณกรรมชุดแรกที่มีชื่อเสียง คือ อู่จิงแปลว่า คัมภีร์ทั้ง 5 (Five Classics) จัดทำโดยขงจื๊อ ได้แก่
1) ซือจิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกลอนจากแคว้นต่าง ๆ
2) ซูจิง เป็นหนังสือที่รวบรวมคำประกาศ เอกสารราชการ
3) อี้จิง เป็นตำราทำนายดวงชะตา
4) หลี่จี้ เป็นหนังสือเกี่ยวกับจารีต ขนบธรรมเนียม
5) ชุนชิว เป็นบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เรียบเรียงโดยขงจื๊อ
4. การติดต่อค้าขาย
-ในสมัยราชวงศ์ชาง ใช้เปลือกหอย หรือหอยเบี้ยเป็นสื่อกลางซื้อขาย และเปลี่ยนมาใช้เงินตราในราชวงศ์โจว
-จักรพรรดิจิ๋นได้ยกเลิกระบบเงินตรา และมาตรการวัดของแคว้นต่าง ๆ ให้ใช้ตามแบบอย่างในแคว้นฉินที่มีอยู่เดิม เป็นแบบเดียวกันทั้งประเทศ ทำให้การติดต่อค้าขายสะดวกยิ่งขึ้น
-ต่อมาได้มีการบุกเบิกเส้นทางสายไหมขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น โดยเริ่มต้นที่เมืองฉางอาน และสิ้นสุดที่จักรวรรดิโรมัน
1.3 อิทธิพลของอารยธรรมจีน
ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน เช่น เกาหลี เวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ส่วนญี่ปุ่นเลือกที่จะรับ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะยอมรับอารยธรรมจีนด้วยผลประโยชน์ทางการค้า ส่วนเส้นทางการค้าสายไหม มีการแลกเปลี่ยนระหว่างอารยธรรมตะวันตกกับจีน จีนได้แพร่ขยายวิทยาการและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ
2. อารยธรรมอินเดีย
2.1 อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ
หลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบในเมืองฮารัปปาและเมืองโมเฮนโจดาโร เกิดจากชาวดราวิเดียนซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองของอินเดีย สันนิษฐานว่าอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุมีความเจริญในระดับเดียวกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย โดยพบเครื่องประดับของอารยธรรมเมโสโปเตเมียในเมืองฮารัปปาและโมเฮนโจดาโร
2.2 อารยธรรมอินเดียภายหลังการเข้ามาของชาวอารยัน
2.2.1 ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของการก่อตัวเป็นรัฐ
ก่อนที่อารยธรรมอินเดียจะพัฒนาไปสู่จักรวรรดิ แบ่งได้ 2 ยุค คือ
1. ยุคพระเวท เป็นยุคแรกที่ชาวอารยันมาตั้งหลักแหล่งมั่นคงในอินเดีย เกิดเป็นระบบวรรณะ
2. ยุคมหากาพย์ (ประมาณ 900–600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นช่วงที่ชาวอารยันขยายตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือและทางตอนกลางของอินเดีย มีการก่อตั้งเมืองต่าง ๆ แคว้นที่มีอำนาจในสมัยนั้น คือ แคว้นมคธ
2.2.2 พัฒนาการด้านอารยธรรมและความเจริญของอินเดีย
1. ศาสนาและความเชื่อ ในตอนแรกชาวอินเดียนับถือเทพเจ้า ต่อมาในยุคพระเวทได้เกิดคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า คัมภีร์พระเวท ประกอบด้วย
ฤคเวท บทสวดสรรเสริญพระเจ้า
ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบพิธีกรรมต่างๆ
และสามเวท เป็นบทสวดถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์
ตอนหลังมีการเพิ่มคัมภีร์ อถรรพเวท เกี่ยวกับพวกเวทมนต์ ไสยศาสตร์
การปกครองของสังคมแบ่งออกเป็น 4 วรรณะ คือพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
กษัตริย์ คือผู้ปกครองนักรบ
แพศย์ คือ พ่อค้า เกษตรกร ช่างฝีมือ
และศูทร คนใช้แรงงาน
หากแต่งงานข้ามวรรณะ บุตรจะกลายเป็นคนที่อยู่นอกวรรณะ เรียกว่า จัณฑาล กลายเป็นที่รังเกียจของสังคม
ต่อมาเกิดศาสนาขึ้นใหม่ 2 ศาสนา เป็นศาสนาแบบอเทวนิยม
1) ศาสนาเชน ศาสดาคือ พระมหาวีระ เน้นความทุกข์ทางกายหรือบำเพ็ญทุกรกริยา เพื่อหลุดพ้นสู่โมกษะ
2) พระพุทธศาสนา ศาสดาคือ พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ หรืออริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นหลักการของพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังเชื่อในกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดย่อมได้ผลตอบแทน พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
2. ศิลปะและนวัตกรรม ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญ ดังนี้
1) สถูป สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
2) ถ้ำวิหาร สร้างเพื่อให้พระสงฆ์จำวัด
3) เสาหิน เป็นเสาหินขนาดใหญ่ที่สวยงาม แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าอโศกมหาราชทรงยกย่องเชิดชูพระพุทธศาสนา
ในช่วงที่ชาวกรีกครอบครองทางตอนเหนือของอินเดีย เกิดการผสมผสานศิลปะของกรีกและอินเดียขึ้น เรียกว่า ศิลปะคันธาระ โดยมีการปั้นรูปพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก
-นักคณิตศาสตร์ได้พัฒนาสัญลักษณ์ของตัวเลข ซึ่งเป็นรากฐานของตัวเลขที่ใช้ในปัจจุบัน รวมถึงระบบทศนิยมและสมการพีชคณิตกำลังสอง
-การแพทย์มีความเจริญก้าวหน้า เชี่ยวชาญในการเสริมความงามและผลิตยาที่ใช้รักษาโรคเรื้อนได้ สมัยคุปตะมีความก้าวหน้ากว่าอาณาจักรอื่น
-จิตรกรรมที่ถ้ำอชันตา จัดว่าสวยงามที่สุดเลยนะ เกี่ยวกับเรื่องราวพระพุทธศาสนา ภาพใช้สีสันสดใส มีชีวิตชีวา เส้นสายที่อ่อนช้อย
3. ตัวอักษรและวรรณกรรม
ยุคมหากาพย์ ได้เกิดวรรณคดีที่ยิ่งใหญ่ 2 เรื่อง คือ
1) มหากาพย์รามายณะ พระรามสู้กับราวณะ
2) มหากาพย์มหาภารตะ  การทำสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรระหว่างฝ่ายปาณฑพกับฝ่ายเการพ
4. การติดต่อค้าขาย ในสมัยจักรวรรดิเมารยะ การค้าขายมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น เพราะบ้านเมืองอยู่ในความสงบ
2.3 อิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียได้แพร่ขยายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ จนอารยธรรมอินเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมในสังคมนั้น ๆ
-ในภูมิภาคเอเชียกลาง ยุคสมัยแรก ๆ มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกับชาวอินเดีย แล้วอารยธรรมอิสลามก็เข้ามาแทนที่จนถึงปัจจุบัน
-ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ชาวมุสลิมได้ใช้วิทยาการหลายอย่างของอินเดีย เช่น การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์
-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุด โดยเฉพาะด้านศาสนา นอกจากนี้ตัวอักษรอินเดียก็เป็นมรดกตกทอดมาถึงภูมิภาคนี้ด้วย
3. แหล่งมรดกโลกในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย
3.1 แหล่งมรดกโลกในดินแดนเอเชียตะวันออก
1. กำแพงเมืองจีน (The Great Wall) ภาษาจีนเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้เป็นกำแพงที่ยาวที่สุดในโลก ยูเนสโกได้ประกาศให้กำแพงเมืองจีนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมใน ค.ศ. 1987 และเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสมัยกลาง กำแพงเมืองจีนจึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจีน อดีตสร้างเพื่อป้องกันข้าศึก
2. ปราสาทฮิเมจิ (Himeiji-Jo) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปราสาทกระเรียนขาวปราสาทแห่งนี้มีการออกแบบระบบการป้องกันที่ซับซ้อน เช่น การออกแบบแนวกำแพงและทางเดินให้ทหารซุ่มโจมตีข้าศึกได้ง่าย
และรอดพ้นจากการถูกทำลายด้วยระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยูเนสโกได้ประกาศให้ปราสาทฮิเมจิเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมใน ค.ศ. 1993
3. สุสานราชวงศ์โชซอน (Royal Tombs of Joseon Dynasty) เป็นที่ตั้งสุสานทั้งหมด 40 สุสาน กระจายอยู่ในพื้นที่ทั้งหมด 18 แห่ง ยูเนสโกได้ประกาศให้สุสานราชวงศ์โชซอนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมใน ค.ศ. 2009
3.2 แหล่งมรดกโลกในดินแดนเอเชียใต้
1. ตาชมะฮัล (Taj Mahal) อนุสาวรีย์แห่งความรัก ที่พระเจ้าชาห์จะฮานสร้างให้มเหสีอันเป็นที่รัก ตั้งอยู่ที่เมืองอัคระ รัฐอุตตรประเทศ สร้างขึ้นจากหินอ่อนสีขาว และประดับด้วยอัญมณีใช้เวลาก่อสร้างถึง 20 ปี ยูเนสโกได้ประกาศให้ตาชมะฮัลเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมใน ค.ศ. 1983 และเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
2. ตักศิลา (Taxila) ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าและเคยตกอยู่ใต้อำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียและกรีก ถือได้ว่าเป็นจุดนัดพบระหว่างอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมตะวันออก ยูเนสโกได้ประกาศให้ตักศิลาเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมใน ค.ศ. 1980 เป็นแหล่งศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ
3.3 แหล่งมรดกโลกในดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
เปตรา (Petra) เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ทางตะวันออกของหุบเขาวาดีมูซา (Wadi Musa) ชาวอาหรับได้เข้ามาสกัดหินผาลึกเข้าไปเป็นอาคารต่าง ๆ ตามหุบเขา สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างกรีกและศิลปะแบบตะวันออก ตั้งอยู่บนเนทางการค้าสำคัญด้วยนะ แถวฉนวนกาซา ทะเลแดง เปอร์เซีย ยูเนสโกได้ประกาศให้เปตราเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมใน ค.ศ. 1985
3.4 แหล่งมรดกโลกในดินแดนเอเชียกลาง
ซามาร์คันด์ (Samarkand–Crossroads of cultures) ก่อตั้งขึ้นราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช และในคริสต์ศตวรรษที่ 14 พระเจ้าติมูร์ได้รวบรวมช่างฝีมือจากเมืองต่าง ๆ ที่พระองค์ไปยึดครองมาได้ เช่น ดามัสกัส อาเซอร์ไบจาน มาสร้างสถาปัตยกรรมในเมือง เช่น สุสาน สุเหร่า ใจกลางเมืองซามาร์คันด์ในสมัยนั้นเรียกว่า เรกิสถาน” (registan) ยูเนสโกได้ประกาศให้ซามาร์คันด์เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมใน ค.ศ. 2001
พระเจ้าติมูร์นักเรียนจำไว้ว่ายิ่งใหญ่มากๆเลยในเอเชียกลางละ



 



วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

พระพุทธ ม หนึ่ง





การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อศาสนิกชนของศาสนาต่าง ๆ
ศาสนาอิสลาม
เรียกศาสนิกชนว่า อิสลามิกชน หรือ มุสลิม
ผู้ทำหน้าที่เหมือนนักบวชเรียกว่า อิหม่าม
คริสต์ศาสนา
เรียกศาสนิกชนว่า คริสต์ศาสนิกชน หรือคริสตัง และคริสเตียน
นักบวชคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเรียกว่า บาทหลวง
ศาสนาพราหมณ์ฮินดู
เรียกศาสนิกชนว่า พราหมณ์

เพื่อจะอยู่ร่วมกันในสังคมกับศาสนิกชนศาสนาอื่นอย่างสันติสุข ปฏิบัติดังนี้
ให้เกียรติและเคารพกัน
สุภาพ
รู้จักกาลเทศะ
เข้าใจกัน



การจัดโต๊ะหมู่บูชา แบบหมู่ ๔
โต๊ะ 4 เเจกัน 4 พานดอกไม้ 2 เชิงเทียน  6 เล่ม


เเบบโต๊ะชัด  เเจกัน 1 พานดอกไม้ 2 เชิงเทียน  2  เล่ม


  การจัดโต๊ะหมู่บูชา แบบหมู่ ๕


เเบบสวยงาม  โต๊ะ 5 เเจกัน 2 พานดอกไม้ 1 เชิงเทียน 2 เล่ม



 เเบบพิธีการ  โต๊ะ 5 เเจกัน 4 พานดอกไม้ 5 เชิงเทียน 8 เล่ม หรือ 6 เล่ม 

  การจัดโต๊ะหมู่บูชา แบบหมู่ ๗

เเบบพิธีการโต๊ะ 7 เเจกัน 4 พานดอกไม้ 5 เชิงเทียน 8 เล่ม หรือ 10  เล่ม 
เเบบนิยม โต๊ะ 7  เเจกัน 4 พานดอกไม้ 1 เชิงเทียน  2


การจัดโต๊ะหมู่บูชา แบบหมู่ ๙
เเบบนิยม โต๊ะ 9  เเจกัน 4 พานดอกไม้ 3 เชิงเทียน  2
เเบบพิธีการโต๊ะ 9  เเจกัน 6 พานดอกไม้ 7 เชิงเทียน 10 เล่ม หรือ 12  เล่ม 


คำอาราธนาศีล เชิญให้พระให้ศีลเเก่เรา เพื่อให้เรารักษาศีลให้บริสุทธิ์
ขึ้นต้นด้วย มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง
จบเเล้วจะมีการสมาทานศีล ขึ้นต้นด้วย ปาณาติปาตา

การอาราธนาธรรม  เชิญพระชี้เเนะให้ทำความดีตามหลักธรรม
ขึ้นต้นด้วย  พรหมา จะ โลกาธิปะตี

การอารธนาพระปริตร

เชิญให้สวดมนต์เรื่องพระพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้า เพื่อสร้างศิริมงคลให้เเก่เรา
ขึ้นต้นด้วย วิปัตติปฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา


การบริหารจิตและการเจริญปัญญา ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส มีความรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามจริง มีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยม คือ
การบริหารจิตและการเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ        
สติปัฏฐาน มี 4 ประการ คือ
การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย การยืน การนั่งสมาธิ
การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา รู้เท่าทันความรู้สึกของตน เช่น เย็นหรือร้อน อ่อนหรือเเข็ง 
การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ว่ายินดี ชอบใจ เศร้า
การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม รู้ว่าิ่งนั้นดีไม่ดี
อานาปานสติ  คือการกำหนดลมหายใจเข้าออก นิยม 3 วิธี คือ
วิธีนับ
วิธีบริกรรมแบบพุทโธ
วิธีบริกรรมแบบพองหนอยุบหนอ 

  

การบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐานเน้นอานาปานสติ
วิธีปฏิบัติการบริหารจิต มีดังนี้
เลือกสถานที่
กำหนดเวลา
สมาทานศีล
บูชาพระรัตนตรัย
แผ่เมตตา
ตัดความกังวล
ฝึกปฏิบัติ
ขั้นฝึกปฏิบัติของการเจริญปัญญา เมื่อจิตฝึกฝนจนสงบและมีประสิทธิภาพ ปัญญาก็จะเกิด ซึ่งการเจริญหรือฝึกฝนอบรมตนให้เกิดปัญญามีหลายวิธีตามประเภทปัญญา ได้แก่
สุตมยปัญญา เกิดจากการฟัง  อ่าน  เขียน
จินตามยปัญญา เกิดจากการคิดตาม
ภาวนามยปัญญา  เกิดจากการปฎิบัติ เป็นปัญญาขั้นสูงสุด

  

ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา
ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ได้แก่ จิตใจสบาย สุขภาพดี
ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ สงบ กระฉับกระเฉง
ด้านที่เป็นเป้าหมายสูงสุด ได้แก่ เข้าถึงนิพพาน
             
การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ การคิดพิจารณาเป็นระบบ ละเอียด รอบคอบ รอบด้าน และถูกต้อง เช่น
วิธีคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดแบบบรรเทาตัณหา ตัวอย่างคุณค่าเทียม เช่นมีรถเบนซ์ดูดีเเต่มีรถธรรมดาก็ได้
วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก เป็นการคิดข้อดี ข้อเสีย และทางแก้

เทคนิคการสอนครูเเบงค์

https://vt.tiktok.com/ZS8nJWJkx/