วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในโลก ที่มีชื่อว่า Trans-Siberian Railway

เส้นทางรถไฟที่ยาวที่สุดของโลกมีชื่อว่า ทรานส์ไซบีเรีย

ทรานส์ไซบีเรีย (Trans-Siberian Railway) หรือเรียกสั้นๆ ว่าทรานซิบ (Transsib)เป็นเครือข่ายทางรถไฟที่เชื่อมโยงกรุงมอสโก กับดินแดนทางตะวันออกอันห่างไกลของรัสเซีย, มองโกเลีย จีน และทะเลญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน หรือพูดง่ายๆ คือ เชื่อมรัสเซียฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออกนั่นเอง

เส้นทางสายนี้เริ่มสร้างขึ้นใน ปี 1891 ตามแนวคิดริเริ่มของเซอร์เกย์ วิตเต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของรัสเซียในสมัยนั้น โดยสร้างเสร็จสิ้นในปี 1905 ความสำเร็จของเส้นทางสายนี้นับเป็นประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของรัสเซียด้วย เพราะเป็นการเปิดเส้นทางการพัฒนาและความก้าวหน้าสู่ไซบีเรีย อันเป็นเขตสหพันธ์อันห่างไกลของแดนหมีขาว


เส้นทางดั้งเดิมของทรานส์ไซบีเรียเริ่มต้นจากเมืองเชลยาบินสค์ วิ่งไปทางตะวันออกสู่เมืองออมสค์, นอวอซิบิร์สค์ คราสนอยาสค์ อีร์คุตสค์และชีตา ข้ามไปแมนจูเรีย และวกกลับเข้ามารัสเซีย ก่อนที่จะสิ้นสุดที่เมืองท่าวลาดีวอสตอค ริมชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ปัจจุบันจุดเริ่มต้นของทรานไซบีเรียอยู่ที่สถานียารอสลาฟสกีในมอสโก ส่วนสถานีสุดท้ายยังอยู่ที่เมืองวลาดีวอสตอค โดยแบ่งออกเป็น 4 เส้นทางดังนี้

เส้นทางสายหลัก คือ สายทรานส์ไซบีเรีย วิ่งจากมอสโก หรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กไปยังเมืองวลาดีวอสตอค ผ่านทางใต้ของไซบีเรีย เส้นทางนี้สร้างขึ้นระหว่างปี 1891-1916 และยังเชื่อมโยงกับเส้นทางสายหลักอื่นๆ ในรัสเซียที่ที่เชื่อมกับ 2 เมืองนี้ด้วย เส้นทางสายนี้มีระยะทาง 9,288 กิโลเมตร ผ่านในช่วงเวลาแตกต่างกันของโลก 8 ช่วง และใช้เวลาการเดินทางทั้งหมด 7 วัน


เส้นทางหลักอันดับสอง คือ สายทรานส์แมนจูเรีย ซึ่งมาบรรจบกับสายทรานไซบีเรียที่เมืองตาร์สกายา ซึ่งห่างจากทะเลสาบไบคาลไปทางตะวันออกประมาณ 1,000 กิโลเมตร จากตาร์สกายา ทรานส์แมนจูเรียนมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงใต้สู่จีนแล้ววิ่งลงไปยังกรุง ปักกิ่ง ประเทศจีน

เส้นทางสายหลักอันดับสามคือ สายทรานส์มองโกเลีย ซึ่งมาบรรจบกับสายทรานส์ไซบีเรียนที่เมืองอูลันอูเด บนฝั่งตะวันออกของทะเลสาบไบคาล จากอูลันอูเด ทรานส์มองโกเลียมุ่งลงไปทางใต้สู่เมืองอูลานบาตาร์ ก่อนที่จะวิ่งไปยังทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.ilovetogo.com/Article/29/1351/#.UZ4xfkoRscY


สามารถดูทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย
ได้ผ่านหน้าจอคอมได้ที่  ผ่านหน้าจอคอม
http://www.google.ru/intl/ru/landing/transsib/en.html






ขอบค

แม่น้ำไรน์ แม่น้ำถ่านหิน แห่งยุโรป

แม่น้ำไรน์




นั้น มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอลป์ทางตอนใต้ของสวิสเซอร์แลนด์ ไหลขึ้นไปทางเหนือระหว่างพรมแดนฝรั่งเศสและเยอรมันไปยังเนเธอร์แลนด์ แล้วไหลลงทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญมาก มีปริมาณน้ำไหลสม่ำเสมอ ไหลผ่านที่ราบและไหลผ่านหลายประเทศจึงถือว่าเป็นแม่น้ำนานาชาติ และยังเป็นเส้นทางขนส่งวัตถุดิบและสินค้าที่สำคัญ คือ ถ่านหิน แร่เหล็ก และแป้งสาลี โดยเฉพาะการขนส่งถ่านหินซึ่งมีปริมาณมากในย่านอุตสาหกรรม ถ่านหินของเยอรมัน แม่น้ำสายนี้จึงได้รับสมญานามว่า “แม่น้ำถ่านหิน” การขนส่งสินค้าผ่านทางแม่น้ำไรน์นี้ จะออกสู่บริเวณปากแม่น้ำซึ่งเป็นที่ต้องของเมืองท่ารอตเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของทวีป



ลืมบอกไป  เเม่น้ำไรน์ยังมีตำนานอีกด้วยละนะ   ว่ามี  ไซเรนซึ่งว่ากันว่าเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุเรือมากมาย ไซเรนโดนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผู้หญิงเเห่งลุ่มเเม่น้ำไรน์

เเหล่งที่จับปลาได้มากที่สุดของยุโรป คือ .............

คำตอบคือ









 ดอกเกอร์แบงก์





เพราะเป็นบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือบรรจบกับกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก ทำให้มี. แพลงตอนอาหารปลามาก
ปลาที่จับกันมากคือปลาคอด เฮอริง แมคเคอเรล แฮดดอก แฮลิบัท ซาร์ดีน โดยมีประเทศที่จับปลาได้มาก สหราชาอาณาจักร ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

ยามค่ำคืนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ข่ากาโบราซี Hkakabo Razi สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ภูเขา ยอดเขาข่ากาโบราซี Hkakabo Razi - พม่า 5,881เมตร

สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ..ผู้พิชิตยอดเขานี้ครั้งแรกเป็นชาวญี่ปุ่นและชาวพม่าเมื่อปี 1996 นี้เอง ปัจจุบันบริเวณรอบยอดเขานี้ได้ประกาศเป็นเขต Hkakabo Razi National park ดูภาพเพิ่มเติมได้ที่ http://www.travel-myanmar-all.com/North-Myanmar.html

Puncak Jaya ยอดเขาที่มีหิมะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


Puncak Jaya ในอินโดนีเซียตั้งอยู่บนเกาะนิวกีนี ส่วนที่เป็นดินเเดนอีเจียนจายาของอินโดนีเซีย ถึงเเม้จะตั้งอยู่ในเส้นศูนย์สูตรเเต่ด้วยความสูงถึง 4,884 เมตร ทำให้มีหิมะข้างบน ทุกๆความสูง 180 เมตรอุณหภูมิจะลดลงหนึ่งองศ

ทึ่ง "สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง"นักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นอัมพาต บอก"จงอย่าสงสารตัวเอง มีคนอื่นที่แย่กว่าเรา"



สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ศาสตราจารย์ สตีเฟ่น ฮ๊อคกิ้ง นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลก วัย 69 ปี ผู้ป่วยเป็นอัมพาตจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแอ กล่าวให้สัมภาษณ์กับ"เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์"ว่า ทุกวันนี้ เขามีความสุขกว่าในตอนที่เขาได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าวเมื่อเกือบ 50 ปีที่แล้ว โดยระบุว่า เขาไม่อะไรจะพูดเกี่ยวกับอาการที่ป่วยในแง่ดีมากนัก แต่มันได้สอนเขาว่า"จงอย่าสงสารตัวเอง เพราะยังมีคนอื่นที่แย่กว่าเรา และเดินหน้าทำสิ่งที่เราทำได้ต่อไป"

รายงานระบุว่า ศาสตราจารย์สตีเฟ่น ฮ๊อคกิ้ง ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีอนาคตไกล เมื่อเขายังมีอายุเพียง 21 ปี ก่อนที่เขาได้รับการตรวจพบว่า ร่างกายมีอาการเรียกว่า amyotrophic lateral sclerosis (ALS) อันเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมีผลกับประสาทสั่งการ (motor neurons) นั่นคือ เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของ กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะอ่อนแอลงจนเกือบเป็นอัมพาต ซึ่งอาการดังกล่าวโดยปกติแล้วผู้ป่วยจะไม่มีชีวิตเกินกว่า 10 ปี

แต่นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ สามารถสร้างชื่อให้แก่ตัวเองด้วยการเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับ มากที่สุด จากการสร้างทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับจักรวาล กับหนังสือขายดีสูงสุด ซึ่งรวมทั้ง"A Brief Of Time" นอกจากนี้ เขายังแต่งงานมาแล้ว 2 ครั้ง และมีลูก 3 คน

อย่างไรก็ตาม จากการที่เขามีอายุยืนยาวทำให้หลายคนสงสัยว่า แท้จริงเขาป่วยเป็นโรค ALS จริง ๆ หรือไม่ ขณะที่สตีเฟ่นบอกว่า เขาโชคดีที่สามารถทำงานด้านทฤษฎี"ฟิสิกส์"ได้ ซึ่งงานประเภทนี้เป็นสิ่งที่ความพิการไม่อาจคุกคามได้ นอกจากนี้ ยอดนักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ ยังได้เรียกร้องให้บุคคลอื่น ๆ ไปหาหมอเพื่อตรวจสุขภาพว่า เป็นโรคร้ายแรงหรือไม่ และหากเป็นก็จงอย่าพิการใจเหมือนพิการทางกาย ข่าวเก่าเเล้วเเต่สู้ๆนะ

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

ทำไมต้อง “สถาน” ?

“อัฟกานิสถาน ปากีสถาน คีร์กีซสถาน ทิจิกิสถาน คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน”
หลายท่านคงสงสัยมานานแล้วว่าทำไมประเทศเหล่านี้จึงต้องมีคำว่า “สถาน” ต่อท้ายชื่อของประเทศ แต่ การหาคำตอบไม่ใช่เรื่องง่ายนักเพราะประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วล้วนเป็นประเทศที่เกิดขึ้นมาใหม่ โดย 5 ประเทศหลังเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียกลางที่เป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต และเพิ่งสถาปนาความสัมพันธ์กับไทยเมื่อปี 2535 ดังนั้น เกร็ดความรู้ของประเทศเหล่านี้จึงไม่มีมากนัก

เนื่องจากการที่ เราคงจะได้ยินชื่อและมีการปฏิสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น เพราะประเทศเอเชียกลางได้ชื่อว่าเป็นแหล่งพลังงานของโลกในอนาคต (คาซัคสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน) ทั้งประเทศเหล่านี้ยังเป็นประเทศที่มีบทบาทในเวทีการต่างประเทศเพิ่มขึ้น อาทิ คาซัคสถานรับตำแหน่งประธาน OSCE เมื่อเดือนมกราคม 2553 และจะเป็นประธานการประชุมระดับรัฐมนตรีของ OIC ในปี 2554 ทาจิกิสถานเป็นประธานการประชุมระดับรัฐมนตรี OIC ในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ ส่วนอุซเบกิสถานจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ กลุ่มงานเอเชียกลางขอ ไขข้อข้องใจถึงที่มาของคำว่า “สถาน” ที่ต่อท้ายชื่อประเทศดังกล่าว ดังนี้

คำว่า “สถาน” ( -Stan) เป็น วิภัตติหรือคำเสริมท้าย ( Suffix) แปลว่า สถานที่ของ ( “Place of” ) ในภาษาเปอร์เชีย ซึ่งคล้ายคลึงกับภาษาพาสตุน ภาษาอินโดอารยัน และสันสกฤต ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายในทำนองเดียวกันคือใช้บ่งบอกว่าเป็น “สถานที่”

คำเสริมท้ายนี้ได้ปรากฏอยู่ในชื่อ หรือการเรียกสถานที่ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียกลางและเอเชียใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของชาวอินโด เช่น คำว่า “golestan” ซึ่งแปลว่า สวนกุหลาบ (place of roses, rose garden) และต่อมาเมื่อกลุ่มคนที่ใช้ภาษาในตระกูลเปอร์เชียก่อตั้งประเทศของตนขึ้น ชื่อประเทศของ กลุ่มคนเหล่านั้นก็จะมีรากศัพท์ทางภาษาที่คล้ายคลึงกันโดยมีพื้นฐานมาจากภาษาในแถบเปอร์เซีย อาทิ

Afghanistan:
อัฟกานิสถาน แปลว่า ดินแดนของชาวอัฟกัน (Land of Afghans) โดยคำว่า Afghans มาจากชื่อของเผ่าภาษาสันสกฤตคือ “Aśvaka (अश्वक)” ซึ่งแปลว่า นักขี่ม้า และเมื่อรวมกับคำเสริมท้ายในภาษาเปอร์เชีย “สถาน (-stan)” ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่าแปลว่าสถานที่ ดังนั้น อัฟกานิสถาน จึงแปลได้ว่า “ดินแดนแห่งนักขี่ม้า”

Kazakhstan:
คาซัคสถาน แปลว่า ดินแดนของชาวคาซัก (Land of Kazakhs) โดยคำว่า Kazakh ไม่มีความหมายที่แน่นอนโดยสามา รถแปลได้หลายนัย เช่น อิสระภาพ ความกล้าหาญ กระด้างกระเดื่อง คนเตร็ดเตร่ ส่วนในภาษารัสเซียคำว่า kazak (казак) มีความหมายเหมือนคำว่า “Cossack” ในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า นักผจญภัย หรือคนรักอิสระ ดังนั้นเมื่อรวมกับคำเสริมท้ายในภาษาเปอร์เซีย “สถาน” (-stan) จึงสามารถแปลชื่อประเทศ คาซัคสถานได้ว่า “ดินแดนแห่งผู้รักอิสระ”

Kyrgyzstan:
คีร์กีซสถาน เกิดจากการผสมคำสามคำคือ “kyrg” ซึ่งแปลว่า 40 “yz” ซึ่งแปลว่า เผ่า และ stan ซึ่งแปลว่า ดินแดน ดังนั้นจึงแปลได้ว่า “ดินแดนแห่ง 40 ชนเผ่า ( Land of forty tribes)” นอกจากนี้คำว่า “kyz” ยังสามารถแปลในอีกความหมายหนึ่งคือ เด็กผู้หญิง (girls) ดังนั้นจึงสามารถแปลความหมายได้อีกความหมายคือ “ดินแดนแห่ง 40 สาวน้อย (Land of forty girls)”

Tajikistan:
ทาจิกิสถาน (Tajikistan) หรือ ชื่อเดิม คือ โทจิกีสเทิน (Tojikiston) แปลว่า ดินแดนของชาวทาจิกส์ (Land of the Tajiks) โดย ประเทศทาจิกีสถานเป็นเพียงประเทศเดียวในสหภาพโซเวียตซึ่งพูดภาษาเปอร์เซียและประวัติศาสตร์ของชาติสามารถสืบย้อนไปถึงสมัยจักวรรคิเปอร์เซีย โดยรากศัพท์ของ “toj” ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียมีความหมายว่า “มงกุฏ, เกียรติ (crown)” ต่อมาในสมัยของสหภาพโซเวียต “toj” ก็ได้แผลงเป็น “tojik” ดังนั้น “Tajikistan” จึงแปลได้ว่า “ดินแดนแห่งผู้คนมีเกียรติ (Place where people have crowns)” แต่ยังมีรากศัพท์ที่น่าจะเป็นไปได้อีกแนวทางหนึ่งคือในธิเบตมีคำว่า Tag Dzig ซึ่งออกเสียงว่า ทาจิส (Tajik) โดยเป็นคำที่ชาวธิเบตใช้เรียกชาวเปอร์เซีย แต่ในภาษาธิเบตคำดังกล่าวมีความหมายคือ เสือ-เสือดาว นี่จึงอาจเป็นเหตุผลที่ตำนานธิเบตส่วนใหญ่เกี่ยวกับเพื่อนบ้านชาวตะวันตกจะมีลักษณะเป็นเสือ หรือเสือดาว

Turkmenistan:
เติร์กเมนิสถาน มาจากส่วนประกอบของคำคือ Turkmen และคำเสริมท้ายคือ “สถาน (-stan)” ดังนั้น Turkmenistan จึงสามารถแปลได้ว่า “ดินแดนของชาวเติร์กเมนส์ ( Land of the Turkmen people)”

Uzbekistan:
อุซเบกิสถาน มาจากส่วนประกอบของคำ 3 คำคือ “uz” ซึ่งแปลว่า ตนเอง “bek” ซึ่งแปลว่า ผู้บังคับการ, หัวหน้า ในภาษาของชาว Sogdian ต้นตระกูลของชาวอิหร่าน และ “stan” ในภาษาเปอร์เซีย ดังนั้น Uzbekistan จึงมีความหมายว่า “ดินแดนแห่งผู้ปกครองตนเอง (Land of the Self Masters) ”

Pakistan:
ปากีสถาน มาจากคำสองส่วนคือ “Paki” ซึ่งแปลว่าบริสุทธิ์ ( the pure ) มีที่มาจากภาษาอูรดู และ “stan” ในภาษาเปอร์เซีย ดังนั้น ปากีสถาน (Pakistan) จึงมีความหมายว่า “ดินแดนของผู้บริสุทธิ์” ดังนั้นคำว่า “สถาน” ในชื่อประเทศของหลายๆประเทศ จึงมีความหมายในเชิงบ่งบอกความเป็น สถานที่ เหมือนๆกัน จึงสามารถชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาวัฒนธรรมของชาติเหล่านั้นว่า เคยมีประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกันมาก่อน แม้ปัจจุบันชาติบางชาติจะมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเองก็ตาม

อ้างถึง: ข้อมูลจาก Wikipedia

วันที่มีคนจูบกันมากที่สุดของโลก

วันที่ 14 สิงหาคม 1945 อเมริกา และพันธมิตร ได้มีชัยเหนือกองทัพญี่ปุ่น (V-J Day, Victory over Japan Day)
และสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
และ ภาพที่ทุกคนจำได้ ก็คงไม่พ้นภาพนี้ เป็นภาพที่ทหาร (ที่เพิ่ง) ผ่านศึก ที่เดินทางกลับอเมริกา จูบกับสาวพยาบาล ที่ Time Squar, New York

แต่เหตุการณ์นี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องของคู่รักที่จากกันมานานมาพบกัน

อัล เฟรด ช่างภาพผู้ถ่ายภาพนี้ กล่าวว่า "กลาสีที่ลงจากเรือ วิ่งไปด้วยความดีใจ ทั่วถนน และกอดจูบผู้หญิงทุกคนที่เห็น ด้วยความดีใจ (ที่สงครามสงบ)"

ภาพวาด "หวีด" หรือ "The Scream" ผลงานภาพวาดชิ้นเอกของ"เอ็ดเวิร์ด มุงค์" ศิลปินชาวนอร์เวย์ ถูกประมูลไปด้วยราคาถึง 119.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,597 ล้านบาท) ที่สถาบันประมูลซอร์เธอบี นครนิวยอร์ก เมื่อ 2 พ.ค. 2012 และนับเป็นภาพวาดของศิลปินระดับโลกที่ทำราคาประมูลได้สูงที่สุดในโลก

ไลก้า Laika สุนัขอวกาศโซเวียต สัตว์ตัวแรกที่โคจรรอบโลก

  3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ไลก้า (Leika แปลว่า เห่า) สุนัขอวกาศตัวแรกของโลก ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศไปโคจรรอบโลกด้วยยานสปุตนิค 2 ของสหภาพโซเวียต ตามโครงการสปุตนิค เชื่อหรือไม่ว่าไลก้า สุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกีเพศเมีย ที่ถูกจับมาจากข้างถนนในกรุงมอสโก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ยานสปุตนิก 2 ไม่ได้ออกแบบให้กลับสู่โลกอย่างสมบูรณ์ เรื่องของไลก้าจึงจบลงด้วยโศกนาฏกรรมที่เราไม่รู้แน่ชัดนัก ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ประเมินว่า ไลก้ามีชีวิตอยู่ได้ ระหว่าง 4-10 วันในวงโคจร บางคนก็บอกว่า อาหารมื้อท้าย ๆ ของเธอมีภาวะเป็นพิษ บางส่วนก็อ้างว่าไลก้าขาดออกซิเจนเมื่อแบตเตอรี่ ของระบบเกื้อชีวิตหมด ยานสปุตนิก 2 อยู่ในวงโคจรนาน 163 วัน โคจรรอบโลกครบรอบในเวลา 1 ชั่วโมง 42 นาที รวม 2,370 รอบ ในท้ายสุด โลงศพของไลก้าก็ตกลงสู่โลกและไหม้สลายหมดไปในอากาศเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2501 อีก 40 ปีให้หลัง อนุสาวรีย์ของสุสานอวกาศก็ได้มีการสร้างขึ้นนอกกรุงมอสโก โดยมีรูปของไลก้าเห่าขณะสวมชุดนักบินอวกาศ


เทคนิคการสอนครูเเบงค์

https://vt.tiktok.com/ZS8nJWJkx/